หน้าหลัก เกี่ยวกับสภาวิศวกร นโยบายคณะกรรมการสภาวิศวกร สมัยที่ 3

นโยบายคณะกรรมการสภาวิศวกร สมัยที่ 3

สมัยที่ 3 (ปี 2549-2552)

ด้านการประกอบวิชาชีพ

  1. ปรับปรุงขั้นตอนและวิธีการพิจารณาออกใบอนุญาตให้เป็นธรรมและถูกต้องตาม พ.ร.บ.วิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 และ พ.ร.บ.วิศวกร พ.ศ. 2542
  2. สนับสนุนเร่งรัดการเพิ่มสาขาวิ ชาชีพวิศวกรรมควบคุม และส่งเสริมการพัฒนาสาขาวิชาชีพวิศวกรรมอื่น ที่ไม่ใช่วิศวกรรมควบคุม ให้ประกอบวิชาชีพได้ทั้งในประเทศและในต่างประเทศ
  3. บริหารจัดการ ให้มีการจัดทดสอบความรู้ระดับภาคีวิศวกร เพื่อการออกใบอนุญาต
  4. สนับสนุนและส่งเสริมให้วิศวกรมีการพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อการเลื่อนระดับใบอนุญาตได้
  5. ส่งเสริมวิชาชีพวิศวกรรมสู่สากล

ด้านการพัฒนาการศึกษา

  1. จัดทำเอกสารอ้างอิง อัตราค่าตอบแทนการบริการวิชาชีพแต่ละระดับ
  2. เพิ่มการให้บริการทางวิชาการและความรู้ทางวิชาชีพ แก่สมาชิกทั้งบุคคลและนิติบุคคล
  3. ผลักดันให้หน่วยงานของรัฐเร่งรัดการบังคับใช้ พ.ร.บ. วิศวกร พ.ศ. 2542 เช่น ควรระบุไว้ในระเบียบการพัสดุของสำนักนายกรัฐมนตรี และการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งบุคคลของหน่วยงาน เป็นต้น
  4. ปรับปรุง ข้อบังคับ ระเบียบ และเกณฑ์ต่างๆ รวมทั้งข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยการเลือกและการเลือกตั้งกรรมการ สภาวิศวกร พ.ศ. 2543 และข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยการประชุมใหญ่ พ.ศ. 2543 ให้เหมาะสมตามสถานการณ์ปัจจุบัน
  5. พิจารณาจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิก
  6. ส่งเสริมความรู้ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิศวกร เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา การประกันความรับผิด การรักษาสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น

ด้านงานบริการเพื่อสังคม

  1. สนับสนุนให้สมาคมวิชาชีพ (เช่น สมาคมวิศวกรรมสถานฯ, สมาคมวิศวกรรมออกแบบฯ, สมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ฯ เป็นต้น) และสถาบันการศึกษา
  2. จัดทำมาตรฐานหรือคู่มือในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
  3. สร้างเครือข่ายวิศวกรอาสา ช่วยเหลือชุมชนในยามประสบภัยพิบัติ และรณรงค์เรื่องความปลอดภัยสาธารณะ
  4. ให้คำปรึกษา หรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลและสาธารณชนเกี่ยวกับเกี่ยวกับนโยบายและปัญหาด้านวิศวกรรมรวมทั้งด้านเทคโนโลยี
  5. สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับหน่วยงานทางวิศวกรรม และสภาวิชาชีพอื่น

ด้านการพัฒนาองค์กร

  1. ปรับปรุงระบบการบริหารงานของสำนักงานสภาวิศวกร เรื่องการพัฒนาบุคลากรและการให้บริการแก่สมาชิกในบริเวณสำนักงาน
  2. พัฒนาการของสำนักงานสภาวิศวกรเข้าสู่สากล
  3. สร้างระบบสารสนเทศในองค์การเพื่อเป็น e-Organization
  4. ดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อการทำความเข้าใจให้สมาชิกและเกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อสภาวิศวกร