หน้าหลัก วิศวกรวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Chartered Professional Engineer : ACPE)

วิศวกรวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Chartered Professional Engineer : ACPE)

ยินดีต้อนรับสู่วิศวกรวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Chartered Professional Engineer : ACPE)

วิศวกรวิชาชีพอาเซียน หมายถึง วิศวกรวิชาชีพที่ถือสัญชาติของประเทศสมาชิก อาเซียน และมีคุณสมบัติการขึ้นทะเบียนวิศวกรวิชาชีพตามระเบียบ คณะกรรมการสภาวิศวกร ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนวิศวกรวิชาชีพอาเซียน The ASEAN Chartered Professional Engineer พ.ศ. 2557 สำหรับการขึ้นทะเบียน วิศวกรวิชาชีพอาเซียนในประเทศไทย

ทั้งนี้ วิศวกรวิชาชีพอาเซียนจะประกอบวิชาชีพวิศวกรรมได้เฉพาะในขอบข่าย งานที่ได้รับอนุญาตตามความชำนาญของวิศวกรวิชาชีพผู้นั้นภายใต้ข้อตกลงยอมรับร่วมของอาเซียนด้านบริการวิศวกรรม (ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Engineering Services: MRA) เท่านั้น

สภาวิศวกรในฐานะตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมของประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการขึ้นทะเบียนวิศวกรวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Chartered Professional Engineer : ACPE) สำหรับวิศวกรไทยที่จะไปทำงาน ต่างประเทศและการขึ้นทะเบียนวิศวกรวิชาชีพต่างด้าวจดทะเบียน (Registered Foreign Professional Engineer: RFPE)

สำหรับความคืบหน้าของการดำเนินการในเรื่องนี้ ปัจจุบันได้มีการประกาศใช้ ระเบียบคณะกรรมการสภาวิศวกร ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรวิชาชีพ อาเซียน พ.ศ. 2557 (ASEAN Chartered Professional Engineer) และข้อบังคับ สภาวิศวกร ว่าด้วยการกำหนดค่าจดทะเบียนสมาชิก ค่าบำรุงและค่าธรรมเนียม ที่เรียกเก็บจากสมาชิกหรือบุคคลภายนอก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 เพื่อให้มี ผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมายเรียบร้อยแล้ว

การอำนวยความสะดวกและส่งเสริมให้มีการขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Chartered Professional Engineer : ACPE)

ตามวัตถุประสงค์ของข้อตกลงยอมรับร่วมของอาเซียนด้านบริการวิศวกรรม (ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Engineering : MRA) ที่ต้องการอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพด้านบริการ วิศวกรรม (Engineering Services Professionals) และเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเพื่อที่จะส่งเสริมการ ยอมรับแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดด้านมาตรฐานและคุณสมบัติ ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการขึ้นทะเบียนวิศวกร วิชาชีพอาเซียน ผู้ที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรวิชาชีพอาเซียน (ACPE) จะได้รับการอำนวยความสะดวก ดังนี้

เปิดโอกาสให้กับสมาชิกสภาวิศวกร
ที่มีใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมทุกระดับตั้งแต่ระดับสามัญวิศวกรสามารถขอขึ้นทะเบียนวิศวกรวิชาชีพอาเซียนได้ หากมีคุณสมบัติเป็นไปตามระเบียบฯ ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนวิศวกรวิชาชีพอาเซียน ที่กำหนดไว้
ที่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ทั้งในสาขาวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม และสาขาวิชาชีพวิศวกรรมที่ไม่ใช่วิชา ชีพวิศวกรรมควบคุม สามารถขอขึ้นทะเบียนวิศวกรวิชาชีพอาเซียนได้ หากมีคุณสมบัติเป็นไปตามระเบียบฯ ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนวิศวกรวิชาชีพอาเซียนที่กำหนดไว้

เปิดโอกาสให้ผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรวิชาชีพอาเซียน สามารถขอขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรวิชาชีพต่าง ด้าวจดทะเบียน (Registered Foreign Professional Engineer: RFPE) ใน 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนได้

เป็นการอำนวยความสะดวกธุรกิจบริการวิชาชีพวิศวกรรม (Engineering Business Services) เพื่อการส่งเสริม และพัฒนาการรวมกลุ่มเครือข่ายธุรกิจบริการวิชาชีพวิศวกรรมในต่างประเทศ ในการแข่งขันและพัฒนา มาตรฐานการประกอบวิชาชีพ เพื่อรองรับความต้องการจากนานาประเทศในอนาคต

สำหรับผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรวิชาชีพอาเซียน (ACPE) เรียบร้อยแล้วนั้น จะสามารถขอขึ้นทะเบียน เป็นวิศวกรวิชาชีพต่างด้าวจดทะเบียน (Registered Foreign Professional Engineer: RFPE) เพื่อประกอบ วิชาชีพในประเทศผู้รับได้ ดังนี้

  1. วิศวกรวิชาชีพอาเซียน (ACPE) จะมีสิทธิสมัครต่อองค์กรหรือหน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแลด้านวิชาชีพ ด้านบริการวิศวกรรมของประเทศผู้รับ เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรวิชาชีพต่างด้าวจดทะเบียน (RFPE)
    โดยผู้สมัครจะต้องยื่นคำขอพร้อมยอมรับถ้อยแถลงว่า:

(ก) ยอมรับหลักปฏิบัติวิชาชีพของท้องถิ่นและสากล สอดคล้องกับนโยบายด้านจรรยาบรรณและความประพฤติ ที่มีและใช้บังคับโดยประเทศแหล่งกำเนิด

(ข) ยอมรับกฎหมายและระเบียบที่ใช้บังคับของประเทศผู้รับ

(ค) ภายใต้บังคับของกฎหมายและระเบียบภายในของประเทศผู้รับที่ดูแลด้านการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม จะประกอบวิชาชีพร่วมกับวิศวกรวิชาชีพท้องถิ่นในประเทศผู้รับ

  1. ภายใต้บังคับของกฎหมายและระเบียบภายในและที่สามารถนำมาใช้บังคับได้, และไม่เป็นการยื่นแบบ ทางวิศวกรรมต่อผู้มีอำนาจตามกฎหมายของประเทศผู้รับ, หากได้รับการอนุมัติ ผู้สมัครวิศวกรวิชาชีพอาเซียน (ACPE) จะได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพในฐานะเป็นวิศวกรวิชาชีพต่างด้าวจดทะเบียน (RFPE) โดยจะต้อง ไม่เป็นการประกอบวิชาชีพเพียงลำพัง แต่จะต้องประกอบวิชาชีพร่วมกับวิศวกรวิชาชีพที่ได้รับมอบหมายของ ประเทศผู้รับภายในขอบข่ายงานตามความชำนาญของตนซึ่งได้รับการยอมรับและอนุมัติโดยผู้มีอำนาจกำกับ ดูแลด้านวิชาชีพ (PRA) ของประเทศผู้รับ

ติดต่อผู้ดูแลโครงการ

ฝ่ายต่างประเทศ

1303 ต่อ 207
foreignaffairs@coe.or.th