หน้าหลัก เกี่ยวกับสภาวิศวกร นโยบายคณะกรรมการสภาวิศวกร สมัยที่ 4

นโยบายคณะกรรมการสภาวิศวกร สมัยที่ 4

สมัยที่ 4 (ปี 2552-2555)

นโยบาย

  1. จัดทำยุทธศาสตร์ทางวิศวกรรมทั้งในและต่างประเทศ
  2. สร้างจิตสำนึกของวิศวกรให้ตระหนักในคุณภาพของงาน ความปลอดภัยของสาธารณะการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้วิศวกรเกิดจิตสำนึกในจรรยาบรรณแห่ง วิชาชีพวิศวกรรม เพื่อการผดุงเกียรติ และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ
  4. ส่งเสริมและสนับสนุนสถาบันการศึกษา เพื่อผลิตวิศวกรที่มีคุณภาพและคุณธรรม
  5. ส่งเสริมการพัฒนาสาขาวิชาชีพวิศวกรรมอื่นที่ไม่ใช่วิศวกรรมควบคุม
  6. ส่งเสริมการประกอบวิชาชีพของผู้ได้รับใบอนุญาตที่เป็นนิติบุคคล
  7. ปรับปรุงระบบการบริหารงานของสำนักงานสภาวิศวกร เพื่อเป็น e-Organization
  8. สร้างระบบ และพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพและเจตคติที่ดีในการบริหารงาน และการให้บริการสมาชิก
  9. เสริมสร้างความสัมพันธ์กับสมาชิกและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ตลอดจนสวัสดิการของสมาชิก

พันธกิจเร่งด่วน

  1. การบังคับใช้กฎหมาย
    • ประชาสัมพันธ์เร่งรัดการบังคับใช้พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ.2542 เพื่อให้วิศวกรที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่หมดอายุ และผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเข้าสู่กระบวนการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
    • ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนได้รับรู้วัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของสภาวิศวกร
    • สร้างเครือข่ายเพื่อให้วิศวกรที่เป็นสมาชิกส่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมโดยประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน และสมาชิกสภาวิศวกร
    • เร่งรัดความร่วมมือการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมกับนานาชาติ
    • เร่งรัดให้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน
    • ส่งเสริมช่างเทคนิค (Technician) ที่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ให้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับภาคีวิศวกรพิเศษ
    • ส่งเสริมสวัสดิการและการใช้ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของนิติบุคคล
  2. การพัฒนาคุณภาพวิศวกร
    • พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งการจัดทำเอกสารและสื่อต่าง ๆ ในด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกและผู้ได้รับใบอนุญาต เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารในระบบอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถพัฒนาตนเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง
    • สนับสนุนสมาคมวิชาชีพและผู้ได้รับใบอนุญาตที่เป็นนิติบุคคลให้มีส่วนร่วมในการพัฒนากลไกเพื่อเพิ่มคุณภาพของสมาชิกสภาวิศวกร
    • ประสานงานกับสถาบันการศึกษาและสมาคมวิชาชีพ เพื่อพัฒนาหลักสูตรทางวิศวกรรมให้เหมาะสมกับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
    • ดำเนินการให้มีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขา

พันธกิจระยะยาว

  1. ผลักดันให้มีมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ เพื่อให้วิศวกรยึดถือปฏิบัติ
  2. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพวิศวกรให้ทันสมัยกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีโดยผ่านกระบวนการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง (CPD)
  3. ปรับกระบวนการสร้างขีดความสามารถในการประกอบวิชาชีพของวิศวกร
  4. คุ้มครองสิทธิในการประกอบวิชาชีพและผลประโยชน์ของสมาชิกและผู้ได้รับใบอนุญาต
  5. พัฒนาความสามารถด้านภาษาให้กับวิศวกรในการประกอบวิชาชีพ เพื่อให้สามารถแข่งขันในระดับสากลได้