หน้าหลัก เกี่ยวกับสภาวิศวกร นโยบายคณะกรรมการสภาวิศวกร สมัยที่ 6

นโยบายคณะกรรมการสภาวิศวกร สมัยที่ 6

วิสัยทัศน์

“สภาวิศวกรเป็นองค์กรหลักทางวิศวกรรมที่มุ่งพัฒนาวิศวกรและวิชาชีพวิศวกรรม ให้มีมาตรฐาน รับผิดชอบต่อสังคม โปร่งใสเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศ และระดับสากล”

นโยบาย

  1. ด้านการประกอบวิชาชีพ
    • สร้างจิตสำนึกการประกอบวิชาชีพที่ต้องรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
    • ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมควบคู่กับการพัฒนาประเทศ
    • กำหนดกรอบความสามารถในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาวิชาชีพของแต่ละสาขา
    • รับรองความรู้ความสามารถการประกอบวิชาชีพสำหรับสาขาวิศวกรรมที่ไม่ควบคุม
    • กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพและโครงการศึกษาทางวิศวกรรม
    • ส่งเสริมการบริการวิชาชีพอย่างยุติธรรม
    • ส่งเสริมการเข้าเป็นสมาชิกของสภาวิศวกร การขอรับใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การเลื่อนระดับใบอนุญาต การบังคับใช้ใบอนุญาต และการบังคับใช้พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542
  2. ด้านองค์กร
    • พัฒนาองค์กรนำไปสู่องค์กรดิจิตอล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแล คุ้มครองการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม และการบริการแก่สมาชิก
    • พัฒนาระบบฐานข้อมูล และสร้างเครือข่ายเพื่อประโยชน์ในงานด้านวิศวกรรม และสมาชิก
    • ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างองค์กรวิชาชีพ
    • พัฒนาบุคลากรขององค์กร โดยการเพิ่มขีดความสามารถ และส่งเสริมบทบาทของเจ้าหน้าที่สภาวิศวกร
    • ปรับปรุงระเบียบและข้อบังคับ สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นการให้บริการแก่สมาชิกสภาวิศวกร
    • ศึกษาและวิจัยองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน
    • ศึกษาและจัดเตรียมสถานที่ตั้งสำนักงานรองรับการปฏิบัติงานในอนาคต
    • ประชาสัมพันธ์องค์กรให้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณะในวงกว้าง
  3. ด้านการศึกษา
    • สร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา องค์กรวิชาชีพ อุตสาหกรรม และภาครัฐ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีนโยบายที่สอดรับกัน
    • ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการในการรับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
    • ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการขอรับใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกร
    • ส่งเสริมระบบการรับรองปริญญาตามเกณฑ์ผลลัพธ์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
  4. ด้านต่างประเทศ
    • พัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะในการประกอบวิชาชีพของวิศวกรไทยให้มีขีดความสามารถแข่งขันในระดับสากล
    • เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรวิชาชีพวิศวกรรมในประเทศต่างๆ สนับสนุนการเข้าร่วมข้อตกลงระหว่างประเทศ ทั้งด้านการประกอบวิชาชีพและการศึกษา
    • ส่งเสริมการขึ้นทะเบียนวิศวกรข้ามชาติ และกำหนดหลักเกณฑ์ สำหรับวิศวกรต่างด้าวที่ไม่ได้จดทะเบียน
    • แก้ไขปรับปรุงระบบการกำกับ และส่งเสริมวิชาชีพในประเทศ ให้สอดคล้องกับข้อตกลงระหว่างประเทศ
  5. ด้านสังคม สาธารณะ และสิ่งแวดล้อม
    • ส่งเสริมบทบาทของสภาวิศวกรในการให้ความเห็นแก่ประชาชน ภาครัฐและสื่อมวลชนในประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรม การดำเนินโครงการทางวิศวกรรม ภัยพิบัติและความปลอดภัยสาธารณะ
    • จัดทำข้อเสนอแก่ภาครัฐในประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรม การดำเนินโครงการทางวิศวกรรม ภัยพิบัติ และความปลอดภัยสาธารณะ
  6. ด้านคุณภาพและคุณค่าวิศวกร
    • พัฒนาคุณภาพและคุณค่าของวิศวกร ให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมภายในประเทศ
    • ประชาสัมพันธ์คุณค่าของวิชาชีพวิศวกรรม เชิดชูเกียรติและศักดิ์ศรีของวิศวกรไทย
    • รักษาสิทธิและหน้าที่และส่งเสริมสวัสดิการแก่สมาชิกสภาวิศวกร
  7. ด้านจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ
    • สร้างจิตสำนึกในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมอย่างซื่อสัตย์สุจริต
    • ส่งเสริมให้มีการดำเนินการโครงการทางวิศวกรรมอย่างโปร่งใส และต่อต้านคอรัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการทางวิศวกรรม