หน้าหลัก เกี่ยวกับสภาวิศวกร นโยบายคณะกรรมการสภาวิศวกร สมัยที่ 7

นโยบายคณะกรรมการสภาวิศวกร สมัยที่ 7

วิสัยทัศน์

“ยกระดับวิศวกรไทยสู่สากลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Enhance Thai Engineers for Global Sustainability)

พันธกิจ

“พัฒนาคุณภาพการประกอบวิชาชีพวิศวกรไทย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อ ประชาชนและสังคม” (Quality professional development of Thai engineers for enhancement of Thailand competitive ability and betterment of the people and the society)

นโยบาย

1. ด้านการศึกษาและวิจัย
  • รับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ (TABEE)
  • การปรับปรุงกระบวนการในการรับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเพื่อไม่ ก้าวก่ายการจัดการศึกษา
  • ทำการวิจัยเพื่อพัฒนาสภาวิศวกร เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานตามภารกิจหน้าที่ของสภาวิศวกรตาม พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542
  • การกำหนดแนวทาง วิธีการ และการเตรียมการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับเทคโนโลยีวิศวกรรม (TABET)
  • ส่งเสริมงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม และเพื่อประโยชน์ในการจัดทำมาตรฐานประกอบวิชาชีพ วิศวกรรม
  • สนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยที่เกี่ยวข้องในงานวิศวกรรมในเรื่องใหม่ ๆ เพื่อประโยชน์ต่อสังคมไทย และสังคมโลก
2. ด้านการประกอบวิชาชีพ
  • ปรับปรุงระบบและข้อสอบ เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับภาคีวิศวกร โดยเน้นเรื่องการประเมิน ผลความสามารถของผู้สอบ
  • สนับสนุนสมาคมวิชาชีพเพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการประกอบวิชาชีพวิศวกรและเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขัน
  • ส่งเสริมการทำกรอบความสามารถของผู้ปฏิบัติวิชาชีพในแต่ละสาขาเพื่อใช้ประเมินผลในการสอบเลื่อนระดับ
  • ประสานงานกรรมการจรรยาบรรณในกรณีพิพาทและไกล่เกลี่ย
  • ออกใบรับรองความรู้ความชำนาญสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม วิชาชีพวิศวกรรมควบคุม และสหสาขาวิชาชีพ วิศวกรรม รวมทั้งรับรองความรู้ความชำนาญเฉพาะทาง
  • ส่งเสริมการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ (Code of Practices) มาตรฐานความประพฤติ (Code of Conducts) และมาตรฐาน การให้บริการวิชาชีพ (Code of Services)
  • ส่งเสริมการถ่ายโอนเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมอย่างเป็นรูปธรรม
  • ส่งเสริมและสนับสนุนการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
  • ส่งเสริมการจัดทำมาตรฐานการคิดค่าบริการวิชาชีพวิศวกรรม
  • การจัดทำทำเนียบและคลังข้อมูลผู้ชำนาญการในสาขาวิชาชีพวิศวกรรมต่าง ๆ
  • ส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมต่อเนื่องให้มากขึ้น
  • ส่งเสริมศักดิ์ศรีของวิศวกรไทยในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
  • ส่งเสริมการยึดมั่นในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
  • เสริมสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (Professional Reliability)
  • ส่งเสริมการประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพ ให้ความคุ้มครองความรับผิดตามกฎหมายของผู้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งเป็นผลมาจากการ ปฏิบัติงานในวิชาชีพ
  • ส่งเสริมมาตรการการป้องกันและต่อต้านคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
3. ด้านองค์กรและการให้บริการ
  • เพิ่มสมรรถนะของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการให้บริการสมาชิกและสังคมผ่านเครือข่ายสารสนเทศ ครอบคลุม E-Services, E-Election และอื่น ๆ
  • จัดระบบให้ความรู้ทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีผ่านเครือข่าย และกรอบการพัฒนา CPD
  • ประสานงานสภาวิชาชีพและสมาคมวิชาชีพเพื่อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายและปัญหาด้านวิศวกรรมรวมทั้งด้านเทคโนโลยี
  • เสริมสร้างศักยภาพและความสามารถของสำนักงานสภาวิศวกรเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายและวัตถุประสงค์ ของสภาวิศวกรได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง
  • เป็นองค์กรธรรมาภิบาล
  • เพิ่มฝ่ายตรวจสอบภายใน ทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องในการดำเนินงานของสำนักงานสภาวิศวกร
  • การปรับปรุงระเบียบเพื่อรองรับการนำหน่วยความรู้จากการพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมอย่างต่อเนื่อง (CPD) มาใช้ในการเลื่อน ระดับใบอนุญาต
  • ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลของสำนักงานสภาวิศวกร ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (Flexible Rightsizing)
  • ปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
  • พิจารณาลดขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพิจารณาการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมที่อาจซ้ำซ้อน หรือไม่จำเป็นแล้วในปัจจุบัน
  • ปรับปรุงการอบรมความพร้อมในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ให้มีเฉพาะเรื่องที่มีความสำคัญต่อการประกอบ วิชาชีพวิศวกรรม
  • ปรับปรุงการให้บริการผ่านระบบเทคโนโลยี เพื่อให้สภาวิศวกรเป็นหน่วยงานผู้นำด้านดิจิตัลของประเทศไทย
  • จัดให้มีการประกันภัยกลุ่มให้กับสมาชิกสภาวิศวกร
4. ด้านต่างประเทศ
  • ดำเนินการและประสานงานสมาคมวิชาชีพและส่วนราชการในกิจกรรมตามพันธะและข้อผูกพัน ด้านต่าง ๆ เช่น WTO, FTA, APEC Engineer, ASEAN Engineer, RFPE, CAFEO, Washington Accord, Sydney Accord
  • เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมในการเจรจาเกี่ยวกับการบริการวิชาชีพข้ามชาติ
  • สนับสนุนและประสานงานสภาวิชาชีพและสมาคมวิชาชีพ
  • การสร้างพันธมิตรร่วมกับภาครัฐและเอกชน ในการส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณแก่สภาวิศวกรในการดำเนินงานด้านต่างประเทศ
  • ส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาสากลในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
5. ด้านการปรับปรุงกฎหมาย
  • การปรับปรุงกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ กฎกระทรวง และพระราชบัญญัติของสภาวิศวกร ให้ทันสมัยและเหมาะสมกับ สถานการณ์การเปลี่ยนแปลง รวมถึงเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานตามพันธกิจและนโยบายของสภาวิศวกร อาทิ ปรับปรุงพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 เพื่อรองรับภารกิจและการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ 17 สาขาวิชาชีพวิศวกรรม
6. ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลง
  • การนำเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ มาประยุกต์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ เพื่อนำไปใช้ในการประมวลผลข้อมูล การจัดทำคลังข้อมูล และแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
  • สร้างกลุ่มความร่วมมือภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและการสร้างศักยภาพให้แก่วิศวกรไทยในการ ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
  • ให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกสภาวิศวกร ประชาชน และหน่วยงานอื่น ๆ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
  • ส่งเสริมสหสาขาทางด้านวิศวกรรมและวิศวกรรมควบคุม