หน้าหลัก ใบอนุญาตบุคคล ใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกรพิเศษ

ใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกรพิเศษ

ยินดีต้อนรับสู่ใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกรพิเศษ

            เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมให้กับบุคคลที่เป็นผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับวิชาชีพวิศวกรรมสามารถยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับภาคีวิศวกรพิเศษ โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ที่ตรงกับลักษณะงานวิศวกรรมที่ยื่นคำขอตามกฎกระทรวงกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิศวกรรมควบคุม และได้รับการรับรองความรู้ความชำนาญจากสภาวิศวกร

ขั้นตอนการขอใบอนุญาตภาคีวิศวกรพิเศษ

  1. เข้าระบบ service.coe.or.th
  2. เลือกเมนู “สมาชิก-บุคคล”
  3. เลือกเมนู “ขอใบอนุญาตต่างๆ”
  4. เลือกเมนู “ขอใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกรพิเศษ”
  5. ยืนยันตัวตน ด้วยข้อมูลบนบัตรประชาชน และหมายเลขสมาชิก
  6. ยื่นขอใบอนุญาต สามารถยื่นเรื่องขอรับใบอนุญาตได้ครั้งละไม่เกินหนึ่งลักษณะงานเท่าที่มีความรู้ความชำนาญในด้านนั้นๆ ถ้าประสงค์จะขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมระดับภาคีวิศวกรพิเศษในงานลักษณะอื่นๆ ให้ยื่นคำขอใหม่
  7. ระบบออกเลขรับเรื่อง (กรุณาจดจำเลขที่รับเรื่องเพื่อติดตามสถานะ)
  8. รอการพิจารณาเอกสาร และผลงานจากคณะอนุกรรมการจึงสามารถเข้าสอบสัมภาษณ์ได้
  9. ชำระเงินค่าสมัครสอบสัมภาษณ์ ครั้งละ 1,500 บาท
  10. จองรอบสอบสัมภาษณ์ และเข้าสอบสัมภาษณ์
    – สมาชิกจะต้องผ่านการทดสอบสัมภาษณ์ ซึ่งพิจารณาโดยคณะกรรมการ
    – ผู้ที่ไม่ผ่านการสอบสัมภาษณ์หรือการทดสอบข้อเขียน หากประสงค์จะยื่นคำขอรับใบอนุญาตในงานลักษณะเดิม สามารถยื่นคำขอใหม่ได้ภายหลังจากวันที่ยื่น คำขอครั้งก่อนไม่น้อยกว่า 6 เดือน
    – การทดสอบความรู้ระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการสภาวิศวกรกำหนด โดยเกณฑ์การผ่านต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
  11. ชำระเงินค่าอบรมและทดสอบความพร้อม ครั้งละ 1,500 บาท
  12. จองรอบสอบอบรมและทดสอบความพร้อม และเข้าอบรมทดสอบความพร้อม
    – จะต้องชำระเงินค่าทดสอบความพร้อมก่อน จึงจะสามารถเลือกรอบสอบได้
    – เมื่อสมาชิกเลือกรอบสอบอบรมทดสอบความพร้อมแล้ว สามารถเข้าอบรมด้วยการดู VDO ได้ทันที
    – เมื่อสมาชิกอบรมผ่าน VDO ครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว จะสามารถเข้าห้องสอบอบรมทดสอบความพร้อมได้
  13. รออนุมัติใบอนุญาต เมื่ออบรมทดสอบความพร้อมเรียบร่้อยแล้ว รอคณะกรรมการสภาวิศวกรพิจารณาอนุมัติใบอนุญาต
  14. ชำระเงินค่าใบอนุญาต จำนวน 1,000 บาท พร้อมส่วนต่างอายุสมาชิก
  15. รอรับใบอนุญาต

หมายเหตุ

1. ค่าธรรมเนียมการสอบสัมภาษณ์และอบรมทดสอบความพร้อม รอบละ 1,500 บาท (ไม่รวมค่าธรรมเนียมจากผู้ให้บริการ)

2. ค่าธรรมเนียมการออกแบบใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกรพิเศษ 1,000 บาท และค่าส่วนต่างสมาชิกเพื่อให้หมดอายุในวันเดียวกัน

3. ระยะเวลาการพิจารณาผลงาน ใช้เวลาประมาณ 30 – 45 วันทำการ จึงจะสามารถสมัครสอบสัมภาษณ์ได้

คุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตภาคีวิศวกรพิเศษ

  1. ต้องเป็นสมาชิกสภาวิศวกร
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
  3. ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจรรยาบรรณ อันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
  4. ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดที่กระทำโดยประมาท หรือลหุโทษ
  5. ไม่เป็นผู้มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือไม่เป็นโรคที่กำหนดตามข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยโรคต้องห้าม คือ
    – โรคเรื้อนในระยะติดต่อ หรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่อันตรายต่อสังคม
    – วัณโรคในระยะอันตรายต่อสังคม
    – โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่อันตรายต่อสังคม
    – โรคติดยาเสพติดให้โทษ หรือภาวะติดสารเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง
    – โรคพิษสุราเรื้อรัง
    สำหรับสมาชิกประเภทวิสามัญ
  6. เป็นผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับวิชาชีพวิศวกรรม
  7. ผู้ขอรับใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกรพิเศษ จะต้องมีความรู้และประสบการณ์ตรงกับลักษณะงาน
    – วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาวิศวกรรมศาสตร์หรือเทียบเท่าขึ้นไป และจะต้องมีผลงานในลักษณะที่ยื่นคำขอ ไม่น้อยกว่า 2ปี
    – วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่าที่เกี่ยวกับวิชาชีพวิศวกรรม ที่ผู้ยื่นขอจะต้องมีผลงานและประสบการณ์ตรงกับลักษณะงานที่ขอ ไม่น้อยกว่า 4 ปี
    – วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่าที่เกี่ยวกับวิชาชีพวิศวกรรม ที่ผู้ยื่นขอจะต้องมีผลงานและประสบการณ์ตรงกับลักษณะงานที่ขอ ไม่น้อยกว่า 6 ปี
    – วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่าในสาขาอื่นที่ไม่เกี่ยวกับวิชาชีพวิศวกรรมหรือวุฒิต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จะต้องมี ผลงานและประสบการณ์ตรงกับลักษณะงานที่ขอ ไม่น้อยกว่า 10 ปี

เอกสารที่ต้องใช้ในการขอใบอนุญาตภาคีวิศวกรพิเศษ

  1. Transcript หลักฐานการศึกษาที่ระบุวันสำเร็จการศึกษา *
    – กรณีที่ Transcript มีการ Transfer วิชาต้องแนบรายละเอียดผลการศึกษาของรายวิชาที่ Transfer มาด้วย (ไฟล์ .pdf)
  2. รูปถ่าย *
    – รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นดํา ถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปี ขนาด 181×230 pixels ไม่เกิน 4MB
    (ไฟล์ .jpg)
  3. ลายเซ็น*
    – ลายเซ็นของผู้สมัคร ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ขนาด 1181×185 pixels ไม่เกิน 4MB (ไฟล์ .png หรือ .jpg)
  4. แบบประวัติการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม *
    – กรุณากรอกแบบประวัติประกอบวิชาชีพ ตามแบบฟอร์มที่สภาวิศวกรกำหนด (ไฟล์ .pdf)
    (ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
  5. บัญชีแสดงผลงานและปริมาณงานในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม *
    – กรุณากรอกบัญชีแสดงผลงานและปริมาณงานตามแบบที่สภาวิศวกรกำหนด โดยกรอกผลงานที่ตรงกับลักษณะงานที่ขอใบอนุญาตเท่านั้น และต้องเป็นงานที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งให้วิศวกรระดับสามัญวิศวกรขึ้นไปในสาขาหรืองานเดียวกันกับผู้ที่ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ลงนามรับรอง ตามแบบฟอร์มในข้อ (3) ให้ รวมระยะเวลาการปฏิบัติงานแต่ละโครงการ เช่น ม.ค. 62 – ม.ค. 63 รวมระยะเวลา 1 ปี เป็นต้น (ไฟล์ .pdf)
    (ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
  6. รายงานผลงานโครงการดีเด่น *
    – โดยคัดเลือกจากบัญชีแสดงผลงานและปริมาณงาน จำนวนอย่างน้อย 2 ผลงาน แต่ไม่เกิน 5 โครงการและให้ระบุว่าเป็นผลงานลำดับที่เท่าไหร่ในบัญชีแสดงผลงานและปริมาณงาน (ไฟล์ .pdf)
    – กรณีขอใบอนุญาตในสาขาโยธา ได้รับยกเว้น ไม่จําเป็นต้องแนบเอกสาร 
    – ดูคำแนะนำการจัดทำรายงานผลงานโครงการดีเด่นแยกตามสาขาใบอนุญาต
    สาขาวิศวกรรมโยธา
    สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
    สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
    สาขาวิศวกรรมเหมืองแร
    สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
    สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
    สาขาวิศวกรรมเคม
  7. เอกสารประกอบเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย
    – สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตฯ ระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ที่ไม่มีสัญชาติไทย ต้องมีสำเนาบัตรที่ทางราชการออกให้หรือหนังสือเดินทางตัวจริง และมีหลักฐานของ ทางราชการที่อนุญาตให้อยู่อาศัยในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 6 เดือน (Work Permit) มาประกอบการพิจารณา

ติดต่อผู้ดูแลโครงการ

งานระดับภาคีวิศวกรพิเศษ

1303 ต่อ 209, 228
professional@coe.or.th