
ประเภทกิจกรรม การนับจำนวนชั่วโมง และการให้น้ำหนักกิจกรรมการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง
เอกสารเพิ่มเติม Download
ประเภทที่ 1 การศึกษาแบบเป็นทางการรต้องเข้าศึกษา/อบรม ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาทั้งหมด
กิจกรรมที่ 101
หลักสูตรที่เรียนในวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยี หรือมหาวิทยาลัย
(ที่สูงกว่าระดับปริญญาตรี หรือปริญญาตรีใบที่ 2)
(ถ้าตรงสาขาที่ถือใบอนุญาตหรือใบรับรองให้ 1.0 แต่ถ้าไม่ตรงให้ 0.5)
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
นับตามจำนวนชั่วโมงที่เรียน
–
หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิศวกรรมควบคุม
การให้น้ำหนัก 1.0
–
หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิศวกรรมอื่นๆ
การให้น้ำหนัก 1.0
–
หลักสูตรอื่นๆ เช่น MBA
การให้น้ำหนัก 0.5
กิจกรรมที่ 102
หลักสูตรการอบรมที่จัดโดยองค์กรแม่ข่ายหรือหน่วยงานใดๆ หรือในองค์กรของตนเอง ที่มีการสอบ
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
กรณีสอบผ่าน
นับตามจำนวนชั่วโมงที่เรียน
การให้น้ำหนัก 2.0
–
กรณีสอบไม่ผ่าน
นับตามจำนวนชั่วโมงที่เรียน
การให้น้ำหนัก 1.0
กิจกรรมที่ 103
หลักสูตรการอบรมที่จัดโดยองค์กรแม่ข่ายหรือหน่วยงานใดๆ หรือในองค์กรของตนเอง ที่ไม่มีการสอบ
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
นับตามจำนวนชั่วโมงที่เรียน
การให้น้ำหนัก 1.0

ประเภทที่ 2 การศึกษาแบบไม่เป็นทางการ
กิจกรรมที่ 201
การเรียนรู้ด้วยตนเอง (ในงานใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง) โดยมีการจดบันทึกสรุปด้วยการทำเป็นรายงาน หรือคู่มือการทำงานแสดงเป็นผลงาน แต่ละเรื่องจะต้องได้รับการประเมินจากผู้บังคับบัญชา หรือวิศวกรผู้ทรงคุณวุฒิ
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
เรื่องละไม่เกิน 10 PDU/CPD Units
การให้น้ำหนัก 1.0
กิจกรรมที่ 202
การศึกษาดูงาน (ในสาขาที่เกี่ยวข้อง)
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
นับตามจำนวนชั่วโมงที่ศึกษาดูงาน โดยไม่นับเวลาเดินทาง กิจกรรมละไม่เกิน 10 PDU/ CPD Units
การให้น้ำหนัก 1.0

ประเภทที่ 3 การเข้าร่วมสัมมนาและการประชุมทางวิชาการหรือวิชาชีพ
กิจกรรมที่ 301
การเข้าฟังการสัมมนาและการประชุมทางวิชาการหรือวิชาชีพภายในประเทศ
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
นับตามจำนวนชั่วโมงที่เข้าสัมมนา หรือประชุม
การให้น้ำหนัก 1.0
กิจกรรมที่ 302
การเข้าประชุมในคณะกรรมการ หรืออนุกรรมการที่เกี่ยวกับวิชาการ หรือวิชาชีพ ภายในประเทศ
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
นับตามจำนวนชั่วโมงที่เข้าประชุม
การให้น้ำหนัก 1.0
กิจกรรมที่ 303
การเข้าฟังการสัมมนาและการประชุมทางวิชาการหรือวิชาชีพระหว่างประเทศ
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
นับตามจำนวนชั่วโมงที่เข้าสัมมนา หรือประชุม
การให้น้ำหนัก 1.5
กิจกรรมที่ 304
การเข้าประชุมในคณะกรรมการ หรืออนุกรรมการที่เกี่ยวกับวิชาการ หรือวิชาชีพระหว่างประเทศ
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
นับตามจำนวนชั่วโมงที่เข้าประชุม
การให้น้ำหนัก 1.5

ประเภทที่ 4 การเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมวิชาชีพ
กิจกรรมที่ 401
การเป็นสมาชิกในสมาคมทางวิชาการหรือวิชาชีพ (ไม่นับรวมการเป็นสมาชิกสภาวิศวกร)
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
นับ 5 ชั่วโมงต่อ 1 สมาคม
การให้น้ำหนัก 1.0
กิจกรรมที่ 402
การเป็นกรรมการสภาวิศวกร หรือกรรมการสมาคมทางวิชาการ หรือวิชาชีพ หรืออนุกรรมการของสภาวิศวกร
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
นับ 10 ชั่วโมงต่อ 1 สมาคม
การให้น้ำหนัก 2.0
กิจกรรมที่ 403
การเป็นอนุกรรมการ หรือคณะทำงานในสมาคมทางวิชาการ หรือวิชาชีพ
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
กรณีเป็นองค์กรแม่ข่าย นับ 10 ชั่วโมงต่อ 1 สมาคม
การให้น้ำหนัก 1.5
–
กรณีที่ไม่ใช่องค์กรแม่ข่าย นับ 10 ชั่วโมงต่อ 1 สมาคม
การให้น้ำหนัก 1.0

ประเภทที่ 5 กิจกรรมบริการวิชาชีพ
กิจกรรมที่ 501
การพิจารณาการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย (กรรมการต่างๆ โดยเน้นทางวิชาการในมหาวิทยาลัย)
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
นับตามจำนวนชั่วโมงที่ร่วมพิจารณา
การให้น้ำหนัก 2.0
กิจกรรมที่ 502
การเป็นกรรมการของหลักสูตรการพัฒนาวิชาชีพที่ตั้งขึ้น
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
นับ 10 ชั่วโมงต่อ 1 หลักสูตร
การให้น้ำหนัก 2.0
กิจกรรมที่ 503
การมีส่วนร่วมในการกำหนดและตรวจสอบหลักสูตรการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
นับตามจำนวนชั่วโมงที่กำหนด และตรวจสอบหลักสูตร
การให้น้ำหนัก 2.0
กิจกรรมที่ 504
การพิจารณากฎเกณฑ์ทางเทคนิคในงานต่างๆ เช่น การพิจารณาและแก้ไขกฎกระทรวงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นต้น
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
นับ 10 ชั่วโมงต่อ 1 คณะต่อปี
การให้น้ำหนัก 2.0
กิจกรรมที่ 505
เป็นกรรมการสอบโครงงานวิจัยนักศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ในกรณีต่างมหาวิทยาลัยเท่านั้น
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
นับตามโครงงาน
(ปริญญาตรี ให้ 5 ชั่วโมง ต่อโครงงาน)
(ปริญญาโท/เอก ให้ 10 ชั่วโมง ต่อโครงงาน)
การให้น้ำหนัก 1.0
กิจกรรมที่ 506
จิตอาสาในงานบริการวิชาชีพวิศวกรรม
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
นับตามจำนวนชั่วโมงที่ปฏิบัติงาน
การให้น้ำหนัก 1.0

ประเภทที่ 6 การมีส่วนร่วมทางด้านวิศวกรรมในภาครัฐ และภาคเอกชน
กิจกรรมที่ 601
การให้คำปรึกษา
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
นับ 10 ชั่วโมงต่อ 1 งาน
การให้น้ำหนัก 1.0
กิจกรรมที่ 602
การทำวิจัย
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
นับ 10 ชั่วโมงต่อ 1 งาน
การให้น้ำหนัก 2.0

ประเภทที่ 7 การสร้างสรรค์ความรู้ความชำนาญในวิชาชีพ
กิจกรรมที่ 701
การพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน (code of practice)
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
นับ 5 ชั่วโมงต่อหน้าของผู้ทำ และ
นับ 2 ชั่วโมงต่อหน้าของผู้ตรวจ
(ตามสัดส่วนของตนเอง)
การให้น้ำหนัก 1.0
กิจกรรมที่ 702
การทำวิจัย การนำเสนอ และการเขียนบทความของงานวิจัยลงในวารสารแบบที่ต้องมีการตรวจทาน การเขียนหนังสือ หรือเอกสารทางวิชาชีพ ภายในประเทศ
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
นับ 5 ชั่วโมง ต่อหน้าของบทความ
40 ชั่วโมง ต่อเล่มของหนังสือ
การให้น้ำหนัก 1.0
กิจกรรมที่ 703
การทำวิจัย การนำเสนอ และการเขียนบทความของงานวิจัยลงในวารสารแบบที่ต้องมีการตรวจทานการเขียนหนังสือ หรือเอกสารทางวิชาชีพต่างประเทศ
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
นับ 5 ชั่วโมง ต่อหน้าของบทความ
นับ 40 ชั่วโมง ต่อเล่มของหนังสือ
การให้น้ำหนัก 1.5
กิจกรรมที่ 704
การทำวิจัย การนำเสนอ และการเขียนบทความทางวิชาชีพ ลงในวารสารแบบที่ไม่ต้องมีการตรวจทาน
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
นับ 5 ชั่วโมง ต่อเรื่อง
การให้น้ำหนัก 1.0
กิจกรรมที่ 705
การตรวจ และปรับแก้บทความของผู้อื่น ในประเทศ
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
นับ 5 ชั่วโมง ต่อเรื่อง
การให้น้ำหนัก 1.0
กิจกรรมที่ 706
การตรวจและปรับแก้บทความของผู้อื่น ต่างประเทศ
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
นับ 5 ชั่วโมง ต่อเรื่อง
การให้น้ำหนัก 1.5
กิจกรรมที่ 707
การเป็นวิทยากรในการอบรม
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
นับตามจำนวนชั่วโมงที่ให้การอบรม
การให้น้ำหนัก 3.0
กิจกรรมที่ 708
การเป็นวิทยากรในการสัมมนา และการประชุมทางวิชาการ
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
นับตามจำนวนชั่วโมงที่ให้การสัมมนา
การให้น้ำหนัก 1.0

ประเภทที่ 8 การจดสิทธิของทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรม
กิจกรรมที่ 801
การจดสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรม
หลักเกณฑ์การนับจำนวนชั่วโมง
–
100 ชั่วโมง ต่อสิทธิบัตร
50 ชั่วโมง ต่ออนุสิทธิบัตร
50 ชั่วโมง ต่อลิขสิทธิ์
การให้น้ำหนัก 3.0

ประเภทที่ 9 นอกเหนือจากประเภทกิจกรรม 1-8
กิจกรรมที่ 901
กิจกรรมพัฒนาความรู้ประกอบวิชาชีพตามแนบท้ายประกาศสภาวิศวกรกำหนด

หมายเหตุ
1.จำนวนหน่วยพัฒนา (PDU/CPD Units) หมายถึง ผลคูณของจำนวนชั่วโมงปฏิบัติกับน้ำหนัก
2.สูงสุด หมายถึง จำนวนหน่วยพัฒนา (PDU/CPD Units) สูงสุดที่วิศวกรสามารถนำมาขึ้นทะเบียนได้ในแต่ละปี
3.กิจกรรมการพัฒนาวิชาชีพวิศวกรรมต่อเนื่องที่เข้าร่วมในต่างประเทศ สามารถนำนับเป็นหน่วยความรู้ได้ โดยจะพิจารณาให้เป็นการ
เฉพาะราย
4.กิจกรรม 506 “จิตอาสาในงานบริการวิชาชีพวิศวกรรม” ต้องได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการกำกับดูแลวิศวกรอาสา สภาวิศวกร
ก่อนจัดกิจกรรม (กรณีฉุกเฉินสามารถขออนุมัติกิจกรรมย้อนหลังได้)