
ยินดีต้อนรับสู่ใบอนุญาตระดับสามัญวิศวกร
เพื่อเป็นส่งเสริมและผลักดันให้วิศวกรผู้ได้รับใบอนุญาต พัฒนาความสามารถของตนเองเพื่อการเลื่อนระดับวิชาชีพ เพิ่มขีดความสามารถการประกอบวิชาชีพและเพื่อการยกระดับมาตรฐานการประกอบวิชาชีพให้เป็นสากลจะต้องมีความรับผิดชอบในการเสริมสร้างความรู้ความสามารถหลายด้าน ทั้งที่เกี่ยวกับความประพฤติปฏิบัติ (Code of Conduct : CC) การให้บริการวิชาชีพ (Code of Service : CS) และการปฏิบัติวิชาชีพ (Coed of Practice : CP) ตามกรอบความสามารถทางวิศวกรรมระดับนานาชาติซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกันในกลุ่มสมาพันธ์การประกอบวิชาชีพระหว่างประเทศ International Engineering Alliance (IEA) เพื่อยกระดับการประกอบวิชาชีพให้เทียบเท่าระดับสากล
ขั้นตอนการขอใบอนุญาตสามัญวิศวกร
- เข้าระบบ service.coe.or.th
- เลือกเมนู “สมาชิก-บุคคล”
- เลือกเมนู “ขอใบอนุญาตต่างๆ”
- เลือกเมนู “ขอใบอนุญาตระดับสามัญวิศวกร”
- ยืนยันตัวตน ด้วยข้อมูลบนบัตรประชาชน และหมายเลขสมาชิก
- เลือกประเภทใบอนุญาตระดับสามัญวิศวกร และสาขาใบอนุญาตที่ต้องการขอรับใบอนุญาต
– ระบบตรวจสอบคัดกรอง ท่านจะต้องได้รับใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกรมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี เท่านั้น
– สามารถเลื่อนระดับเป็นสามัญวิศวกร ได้เฉพาะสาขาที่เคยได้รับใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกร - ระบบออกเลขรับเรื่อง (กรุณาจดจำเลขที่รับเรื่องเพื่อติดตามสถานะ)
- รอการพิจารณาเอกสาร และผลงานจากคณะอนุกรรมการจึงสามารถเข้าสอบสัมภาษณ์ได้
– เมื่อผลงานผ่าน จึงมีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ได้
– เมื่อผลงานไม่ผ่าน ท่านจะได้รับข้อความปฏิเสธ และสามารถยื่นทำรายการได้ใหม่ในภายหลัง - ชำระเงินค่าสมัครสอบสัมภาษณ์ ครั้งละ 1,500 บาท
- จองรอบสอบสัมภาษณ์ และเข้าสอบสัมภาษณ์
– คะแนน 70/100 ขึ้นไป มีสิทธิ์ได้รับใบอนุญาต
– คะแนน 50-69/100 ฝึกอบรมเฉพาะด้าน หรือทำรายงานทางวิชาการ ตาม่ที่คณะอนุกรรมการฯ กำหนด สามารถใช้สิทธิ์สอบข้อเขียนแทนได้
– คะแนนน้อยกว่า 50/100 สอบข้อเขียน ซึ่งจะกำหนดวิชาสอบโดยคณะอนุกรรมการฯ - อบรมหรือสอบข้อเขียน ตามที่คณะอนุกรรมการฯ กำหนด
– หากต้องทำรายงานหรือฝึกอบรม จะต้องเข้าสอบสัมภาษณ์อีกครั้ง ชำระเงินค่าสอบสัมภาษณ์อีกครั้ง
– หากสอบข้อเขียน จะต้องสอบข้อเขียนให้ผ่านเกณฑ์ ชำระเงินค่าสอบข้อเขียนสามัญวิศวกร - รออนุมัติใบอนุญาต รอคณะกรรมการสภาวิศวกรพิจารณาอนุมัติใบอนุญาต
- ชำระเงินค่าใบอนุญาต จำนวน 3,500 บาท พร้อมส่วนต่างอายุสมาชิก
- รอรับใบอนุญาต
หมายเหตุ
1. ค่าธรรมเนียมการสอบสัมภาษณ์และสอบข้อเขียนระดับสามัญวิศวกร รอบละ 1,500 บาท (ไม่รวมค่าธรรมเนียมจากผู้ให้บริการ)
2. ค่าธรรมเนียมการออกแบบใบอนุญาตระดับสามัญวิศวกร 3,500 บาท และค่าส่วนต่างสมาชิกเพื่อให้หมดอายุในวันเดียวกัน
3. ระยะเวลาการพิจารณาผลงาน ใช้เวลาประมาณ 30 - 45 วันทำการ จึงจะสามารถสมัครสอบสัมภาษณ์ได้

คุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตสามัญวิศวกร
จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตฯ ระดับภาคีวิศวกรมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี

เอกสารที่ต้องใช้ในการขอใบอนุญาตสามัญวิศวกร
- รูปถ่าย *
– รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นดํา ถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปี ขนาด 181×230 pixels ไม่เกิน 4MB
(ไฟล์ .jpg) - ลายเซ็น *
– ลายเซ็นของผู้สมัคร ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ขนาด 1181×185 pixels ไม่เกิน 4MB (ไฟล์ .png หรือ .jpg) - ประวัติการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมในสาขาที่ยื่นคำขอ *
– กรุณากรอกแบบประวัติประกอบวิชาชีพ ตามแบบฟอร์มที่สภาวิศวกรกำหนด (ไฟล์ .pdf)
(ไฟล์ .pdf ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
(ไฟล์ .word ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม) - บัญชีแสดงผลงานและปริมาณงานในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ควบคุมที่เด่นชัดเพื่อขอเลื่อนระดับ *
– แบบบัญชีแสดงผลงานและปริฒาณงานในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหลังจากได้รับใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกร ไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยมีผู้รับ รองผลงานเป็นวิศวกรระดับสามัญหรือระดับวุฒิวิศวกรในสาขาและงานเดียวกันกับผู้ยื่นคำขอ (ไฟล์ .pdf)
(ไฟล์ .pdf ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
(ไฟล์ .word ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม) - แบบรายการกิจกรรมการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง (CPD Activities) (ถ้ามี)
– ยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานการได้รับหน่วยความรู้ในวันยื่นคำขอรับใบอนุญาต (รายละเอียดศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็ปไซต์สภาวิศวกร)
– ทั้งนี้หน่วยความรู้ที่นำมาใช้ ต้องมีอายุไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับหน่วยความรู้นั้น (ไฟล์ .pdf)
(ไฟล์ .pdf ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
(ไฟล์ .word ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม) - แบบรายการคำแถลงความสามารถการประกอบวิชาชีพ *
– กรุณากรอกข้อมูลคำแถลงความสามารถการประกอบวิชาชีพตามแบบฟอร์มที่สภาวิศวกรกำหนด (ไฟล์ .pdf)
(ไฟล์ .pdf ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
(ไฟล์ .word ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม) - รายงานผลงานวิศวกรรมดีเด่น *
– โดยคัดเลือกจากบัญชีแสดงผลงานและปริมาณงาน จำนวนอย่างน้อย 2 ผลงาน แต่ไม่เกิน 5 โครงการและให้ระบุว่าเป็นผลงานลำดับที่เท่าไหร่ในบัญชี แสดงผลงานและปริมาณงาน (ไฟล์ .pdf)
(ไฟล์ .pdf ดาวน์โหลดคำแนะนำการจัดทำรายงานผลงานวิศวกรรมดีเด่น) - หนังสือรับรอง กรณีใช้ผลงานดีเด่นต่างประเทศ (ถ้ามี)
– หนังสือรับรองการทำงานจากนิติบุคคลที่ท่านสังกัดในต่างประเทศ (ไฟล์ .pdf) - หลักฐานการศึกษา (เพิ่มเติม ถ้ามี)
– เอกสารหลักฐานการศึกษาระบุวันที่จบการศึกษา สำหรับวุฒิ ป.โท ป.เอก หรือวุฒิอื่นๆ
– รวมสำเนาหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไว้เป็นไฟล์เดียวกัน (ไฟล์ .pdf)

คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตข้ามสาขาวิศวกรรมควบคุม
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร เทียบเท่าปริญญาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ที่สภาวิศวกรรับรอง หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ (TABEE) ในสาขาที่ตรงกับสาขาวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมที่ขอรับใบอนุญาตระดับสามัญวิศวกร
- มีหลักฐานการได้รับหน่วยความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง ตามจำนวนที่คณะกรรมการสภาวิศวกรกำหนด
- มีบัญชีแสดงผลงานและปริมาณงานในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม หลังจากได้รับใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกรไม่น้อยกว่า 3 ปี และได้รับการเสริมสร้างประสบการณ์ในการประกอบวิชาชีพ ตามกรอบความสามารถการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ภายใต้การกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพร่วมกับผู้ได้รับใบอนุญาตตั้งแต่ระดับสามัญวิศวกรขึ้นไปในสาขาและงาน (แขนง) เดียวกันกับที่ยื่นคำขอนั้นเป็นผู้ลงนามรับรองผลงาน
- มีรายงานผลงานวิศวกรรมดีเด่นจำนวนไม่น้อยกว่า 2 เรื่องแต่ไม่เกิน 5 เรื่อง
วิธีการยื่นคำขอ
- สามารถยื่นผ่านอีเมล professional@coe.or.th และรอผลการพิจารณาผลงาน เมื่อผลงานผ่านเข้าสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ต่อไป โดยเอกสารประกอบด้วย
1.1.รูปถ่าย
– รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นดํา ถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปี ขนาด 181×230 pixels ไม่เกิน 4MB
(ไฟล์ .jpg)
1.2.ลายเซ็น
– ลายเซ็นของผู้สมัคร ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ขนาด 1181×185 pixels ไม่เกิน 4MB
(ไฟล์ .png หรือ .jpg)
1.3.สำเนาหลักฐานการศึกษา (transcript) ระดับปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร เทียบเท่าปริญญาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ที่สภาวิศวกรรับรอง หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ (TABEE) ในสาขาที่ตรงกับสาขาวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมที่ขอรับใบอนุญาตระดับสามัญวิศวกร
1.4.ประวัติการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมในสาขาที่ยื่นคำขอ
– กรุณากรอกแบบประวัติประกอบวิชาชีพ ตามแบบฟอร์มที่สภาวิศวกรกำหนด (ไฟล์ .pdf)
(ไฟล์ .pdf ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
(ไฟล์ .word ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
1.5.บัญชีแสดงผลงานและปริมาณงานในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ควบคุมที่เด่นชัดเพื่อขอเลื่อนระดับ
– แบบบัญชีแสดงผลงานและปริมาณงานในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหลังจากได้รับใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกร ไม่น้อยกว่า 3 ปี ภายใต้การกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพร่วมกับผู้ได้รับใบอนุญาตตั้งแต่ระดับสามัญวิศวกรขึ้นไปในสาขาและงาน (แขนง) เดียวกันกับที่ยื่นคำขอเป็นผู้ลงนามรับรองผลงาน
(ไฟล์ .pdf ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
(ไฟล์ .word ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
1.6.แบบรายการกิจกรรมการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง (CPD Activities) (ถ้ามี)
– ยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานการได้รับหน่วยความรู้ในวันยื่นคำขอรับใบอนุญาต (รายละเอียดศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็ปไซต์สภาวิศวกร)
– ทั้งนี้หน่วยความรู้ที่นำมาใช้ ต้องมีอายุไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับหน่วยความรู้นั้น (ไฟล์ .pdf)
(ไฟล์ .pdf ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
(ไฟล์ .word ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
1.7.แบบรายการคำแถลงความสามารถการประกอบวิชาชีพ
– กรุณากรอกข้อมูลคำแถลงความสามารถการประกอบวิชาชีพตามแบบฟอร์มที่สภาวิศวกรกำหนด
(ไฟล์ .pdf)
(ไฟล์ .pdf ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
(ไฟล์ .word ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
1.8.รายงานผลงานวิศวกรรมดีเด่น
– โดยคัดเลือกจากบัญชีแสดงผลงานและปริมาณงาน จำนวนอย่างน้อย 2 ผลงาน แต่ไม่เกิน 5 โครงการและให้ระบุว่าเป็นผลงานลำดับที่เท่าไหร่ในบัญชี แสดงผลงานและปริมาณงาน (ไฟล์ .pdf)
(ไฟล์ .pdf ดาวน์โหลดคำแนะนำการจัดทำรายงานผลงานวิศวกรรมดีเด่น)
1.9.หนังสือรับรอง กรณีใช้ผลงานดีเด่นต่างประเทศ (ถ้ามี)
– หนังสือรับรองการทำงานจากนิติบุคคลที่ท่านสังกัดในต่างประเทศ (ไฟล์ .pdf) - รอการพิจารณาเอกสาร และผลงานจากคณะอนุกรรมการจึงสามารถเข้าสอบข้อเขียนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการสภาวิศวกรกำหนด ได้
– เมื่อผลงานผ่าน จึงมีสิทธิ์เข้าสอบข้อเขียนได้
– เมื่อผลงานไม่ผ่าน ท่านจะได้รับข้อความปฏิเสธ และสามารถยื่นทำรายการได้ใหม่ในภายหลัง - ชำระเงินค่าสมัครสอบข้อเขียน ครั้งละ 1,500 บาท
- จองรอบสอบข้อเขียน และเข้าสอบข้อเขียน
– คะแนน 60/100 ขึ้นไป มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ - ชำระเงินค่าสมัครสอบสัมภาษณ์ ครั้งละ 1,500 บาท
- จองรอบสอบสัมภาษณ์ และเข้าสอบสัมภาษณ์
สอบสัมภาษณ์ ผ่านตามกรอบความสามารถมีสิทธิ์ได้รับใบอนุญาต - รออนุมัติใบอนุญาต รอคณะกรรมการสภาวิศวกรพิจารณาอนุมัติใบอนุญาต
- ชำระเงินค่าใบอนุญาต จำนวน 3,500 บาท พร้อมส่วนต่างอายุสมาชิก
- รอรับใบอนุญาต
หมายเหตุ
- ค่าธรรมเนียมการสอบสัมภาษณ์และสอบข้อเขียน รอบละ 1,500 บาท (ไม่รวมค่าธรรมเนียมจากผู้ให้บริการ)
- ค่าธรรมเนียมการออกแบบใบอนุญาตระดับสามัญวิศวกร 3,500 บาท และค่าส่วนต่างสมาชิกเพื่อให้หมดอายุในวันเดียวกัน
- ระยะเวลาการพิจารณาผลงาน ใช้เวลาประมาณ 30 – 45 วันทำการ จึงจะสามารถสมัครสอบข้อเขียนได้

ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ
- สาขาวิศวกรรมโยธา พ.ศ. 2551
- สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า พ.ศ. 2551
- สาขาวิศวกรรมเครื่องกล พ.ศ. 2551
- สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ พ.ศ. 2551
- สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2551
- สาขาวิศวกรรมเคมี พ.ศ. 2551
- สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ พ.ศ. 2551