หน้าหลัก การรับรอง TABEE

การรับรอง TABEE

ข้อมูลทั่วไปและความเป็นมา

TABEE ย่อมาจากคำว่า Thailand Accreditation Board for Engineering Education
เป็นมาตรฐานการรับรองคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ที่เน้นผลลัพธ์การศึกษา (outcome based education) โดยมีเกณฑ์การประเมินหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนที่มุ่งผลิตผู้สำเร็จการศึกษาที่ต้องมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ (graduate attributes) ตามความต้องการของผู้ว่าจ้างในภาคอุตสาหกรรม ซึ่ง TABEE อ้างอิงหลักเกณฑ์ตามข้อกำหนด IEA Graduate Attributes and Professional Competency (GAPC) ภายใต้ข้อตกลง Washington Accord ที่เป็นมาตรฐานการประเมินหลักสูตรที่นานาประเทศให้การยอมรับเทียบเคียงคุณสมบัติด้านการศึกษาของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ตลอดจนเป็นเกณฑ์ที่ใกล้เคียงหรือเข้ากับบริบทการเรียนการสอนในประเทศไทย

ทำไมต้อง Accredit หลักสูตร?

  • Accreditation เป็นการตรวจประเมินการจัดการหลักสูตรเชิงคุณภาพ (qualitative evaluation) โดยเน้นที่เป้าหมายและความสำเร็จ (attainment) ของการจัดการหลักสูตรต่อผลลัพธ์การศึกษา
  • การรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาเป็นกลไกในการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ให้สถาบันการศึกษามุ่งผลิตวิศวกรบัณฑิตที่มีลักษณะที่พึงประสงค์ ตามความต้องการของสังคมและอุตสาหกรรม และผู้จ้างงานวิศวกร
  • บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจะมีได้รับการประเมินว่ามีคุณสมบัติที่สอดคล้องตามความต้องการของอุตสาหกรรมและข้อกำหนดในการประกอบวิชาชีพและการทำงาน และหลักสูตรจะมีการจัดการศึกษาที่เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมในด้านการเรียนการสอนในหลักสูตร
  • ในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมข้ามชาติกำหนดให้ผู้ปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรม อย่างน้อยที่สุดจะต้องสำเร็จการศึกษาทางวิศวกรรมศาสตร์จากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาตามหลักเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับกันระหว่างประเทศที่มีความร่วมมือ

TABEE คืออะไร?

  • TABEE มาจากคำว่า Thailand Accreditation Board for Engineering Education
  • โดยสภาวิศวกรมีการจัดตั้งหน่วยรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขึ้น เมื่อปี 2558 เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่สถาบันการศึกษาในการยื่นขอรับรองปริญญากับสภาวิศวกรโดยสมัครใจ
  • ซึ่งนำหลักเกณฑ์ที่อ้างอิงตามแนวทางสากลข้อตกลง Washington Accord และ Accreditation Board of Engineering and Technology (ABET) สหรัฐอเมริกา มาเป็นกรอบการกำหนดขั้นตอนและวิธีการรับรอง
  • นอกจากนี้ TABEE มีเป้าหมายในการปรับสถานะสมาชิกข้อตกลง Washington Accord ภายในปี 2568 ซึ่งหากสภาวิศวกรสามารถได้รับการตอบรับจะถือว่า TABEE เป็นหน่วยงาน National Accreditation Body ประจำประเทศไทย ที่มีมาตรฐานระดับสากล (world class)
  • การรับรองดังกล่าวเป็นกัลยาณมิตรกับสถาบันการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับมาตรฐานของหลักสูตรให้ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถเป็นไปตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
  • การตรวจประเมินของ TABEE จะไม่นับจำนวนครั้งของกิจกรรมการศึกษา แต่จะดูความเพียงพอ และเหมาะสมในการจัดการตามเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อเป้าหมายและความสำเร็จ (attainment) ของผลลัพธ์การศึกษาของ TABEE ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนและบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร
  • การตรวจเอกสารประเมินตนเองของสถาบันการศึกษาจะตรวจตามหัวข้อที่ระบุไว้ในแบบรายงานประเมินตนเอง
  • ปัจจุบันหลักสูตรวิศวกรรมควบคุมหรือเทียบเท่าที่ผ่านการรับรอง TABEE จะเป็นหลักสูตรที่ได้รับการรับรองปริญญาตามข้อบังคับสภาวิศวกร

ข้อกำหนดการยื่นขอรับรอง TABEE

  1. เป็นหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์เต็มเวลา หรือเทียบเท่าในระดับปริญญาบัณฑิต ที่มีระยะเวลาการศึกษา 4 ปีการศึกษา และมีจำนวนไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต โดยโครงสร้างหลักสูตรต้องประกอบด้วย
    • หมวดความรู้ด้านคณิตศาสตร์ พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา (รวมทั้งการเรียนในห้องปฏิบัติการ) รวมกันไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
    • หมวดความรู้ด้านวิศวกรรมที่ครอบคลุมความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรม และความรู้เฉพาะทางวิศวกรรมของแต่ละสาขา เพื่อให้นำไปใช้ออกแบบและแก้ไขปัญหาตามข้อกำหนดงานวิศวกรรมได้อย่างเหมาะสม รวมกันไม่น้อยกว่า 45 หน่วยกิต
    • หมวดความรู้ด้านการศึกษาทั่วไป (สอดคล้องตามข้อกำหนดของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 24 หน่วยกิต)
    • หลักสูตรต้องจัดให้มีการฝึกงานวิศวกรรม และมีโครงงานวิศวกรรมในการแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน หรือการออกแบบทางวิศวกรรมในชั้นปีที่ 4 (Capstone Design Project หรือ Capstone Design Course)
  2. หลักสูตรต้องจัดให้มีการฝึกงานวิศวกรรม และมีโครงงานวิศวกรรมในการแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน หรือการออกแบบทางวิศวกรรมในชั้นปีที่ 4 (Capstone Design Project หรือ Capstone Design Course)
  3. เป็นหลักสูตรใหม่หรือหลักสูตรปรับปรุงที่ต้องมีผู้สำเร็จการศึกษาแล้วไม่น้อยกว่า 2 รุ่น
  4. การรับรองหลักสูตรกรณีมีสาขาย่อยหรือแขนงวิชา หากประสงค์ขอรับรองทุกแขนงวิชาต้องแสดงการประเมินและการจัดการเรียนการสอนที่แสดงผลลัพธ์ให้ครบถ้วน หรือสภาวิศวกรจะให้การรับรองเฉพาะแขนงวิชาที่แสดงข้อมูลครบถ้วนตามเกณฑ์การประเมิน
  5. การรับรองทั้งสาขาวิศวกรรม และสาขาวิศวกรรมควบคุม
  6. ระยะเวลารับรองสูงสุดไม่เกิน 6 ปี และปีที่รับรองให้ คือ การรับรองผู้ที่สำเร็จการศึกษา (รับรองปีที่จบการศึกษา)

คณะอนุกรรมการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ (TABEE) กำหนดวัตถุประสงค์ของการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ไว้ ดังนี้
1) เพื่อประเมินผลลัพธ์การศึกษา และการจัดการคุณภาพของหลักสูตรการศึกษา วิศวกรรมศาสตร์ตามที่กำหนดโดยคณะอนุกรรมการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์(TABEE)ที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของข้อตกลงสากลด้านการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์
2) เพื่อส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาจัดการเรียนการสอนและการศึกษาที่ดีให้กับ นิสิตนักศึกษา และมีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
3) เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้สนใจเข้าเรียน ประชาชน และสังคม ทราบและมั่นใจได้ว่าบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษามีผลลัพธ์การศึกษาตามลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมและสอดคล้องกับข้อตกลงสากลทางด้านการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์

คณะอนุกรรมการ
รับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์

ดร.ธัชชัย สุมิตร

ที่ปรึกษา

รศ.ดร.สุธา
ขาวเธียร

ประธานอนุกรรมการ

นายอาทร สินสวัสดิ์

อนุกรรมการ

รศ.พิชิต ลำยอง

อนุกรรมการ

รศ.ดร.ปิยะบุตร
วานิชพงษ์พันธุ์

อนุกรรมการ

รศ.สฤทธิ์เดช
พัฒนเศรษฐพงษ์

อนุกรรมการ

ศ.ดร.สมศักดิ์
ไชยะภินันท์

อนุกรรมการ

รศ.ดร.จิรวัฒน์
ชีวรุ่งโรจน์

อนุกรรมการ

วิศวกรรมอุตสาหการ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

รับรองตั้งแต่ปี 2566- ปัจจุบัน

วิศวกรรมธรณี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมธรณี

รับรองตั้งแต่ปี 2566- ปัจจุบัน

วิศวกรรมพอลิเมอร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพอลิเมอร์

รับรองตั้งแต่ปี 2564- ปัจจุบัน

วิศวกรรมเคมี

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี

รับรองตั้งแต่ปี 2565- ปัจจุบัน

วิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ

รับรองตั้งแต่ปี 2565- ปัจจุบัน

วิศวกรรมไฟฟ้า

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

รับรองตั้งแต่ปี 2565- ปัจจุบัน

เคมีวิศวกรรม

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีวิศวกรรม

รับรองตั้งแต่ปี 2564- ปัจจุบัน

วิศวกรรมสำรวจ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจ

รับรองตั้งแต่ปี 2564- ปัจจุบัน

วิศวกรรมการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์

รับรองตั้งแต่ปี 2563- ปัจจุบัน

วิศวกรรมโยธา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

รับรองตั้งแต่ปี 2560- ปัจจุบัน

หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะผู้ตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษา

  1. ตรวจเอกสารเบื้องต้น
    ในการพิจารณาเอกสารประเมินตนเองของสถาบันการศึกษา คณะผู้ตรวจประเมินฯ อาจมีข้อซักถามในประเด็นที่สงสัย และอาจขอเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมจากสถาบันการศึกษาในกรณีที่สถาบันการศึกษามีคำอธิบาย และส่งเอกสารหลักฐานไม่ได้คุณภาพตามเกณฑ์การรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ที่แจ้งไว้ หรือส่งช้ากว่ากำหนดเวลาจนเกินสมควร คณะผู้ตรวจประเมินฯ อาจพิจารณาเลื่อนหรือยกเลิกการตรวจเยี่ยมสถาบันการศึกษา
  2. ตรวจเยี่ยมสถาบันการศึกษา
    คณะผู้ตรวจประเมินฯ และเจ้าหน้าที่สภาวิศวกร ประสานงานนัดหมายกับสถาบันการศึกษา เพื่อตรวจเยี่ยมสถาบันการศึกษา ตามกำหนดการที่จัดเตรียมและแจ้งสถาบันการศึกษาไว้ล่วงหน้า ในการนี้คณะผู้ตรวจประเมินฯ จะดำเนินการดังนี้
    1. ตรวจสอบเอกสารการจัดการเรียนรายวิชา (Course  Portfolio) ทางวิศวกรรมพื้นฐาน และรายวิชาวิศวกรรมเฉพาะทางของหลักสูตรการศึกษา โดยครอบคลุมถึงความเหมาะสมของเนื้อหาความรู้ การบ้าน แบบฝึกหัด รายงานการศึกษาประจำภาคที่มอบหมายให้นิสิตนักศึกษาทำการศึกษาค้นคว้า และการประเมินผลการเรียนการสอน
    2. ประชุมร่วมกับผู้บริหารสถาบันการศึกษาหรือคณะวิชา และผู้บริหารหลักสูตรเพื่อทำความเข้าใจกับกำหนดการกิจกรรม และรับฟังการนำเสนอภาพรวม การดำเนินงานของสถาบันการศึกษาหรือคณะวิชา แผนการพัฒนา และการจัดการหลักสูตร และซักถามในประเด็นเนื้อหาของรายงานประเมินตนเอง
    3. ประเมินกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน อุปกรณ์ปฏิบัติการ การจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และสภาพสิ่งแวดล้อมในการศึกษาตามเกณฑ์การรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์
    4. สัมภาษณ์ซักถามผู้บริหารหลักสูตร คณาจารย์ผู้สอน ครูปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่เป็นรายบุคคล เพื่อประเมินผลการจัดการหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอนของคณาจารย์รายวิชาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์การศึกษาและลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
    5. สัมภาษณ์นิสิตนักศึกษาทุกชั้นปีตามที่สถาบันการศึกษาเป็นผู้นัดหมาย ตามจำนวน และหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะผู้ตรวจประเมินฯ เพื่อยืนยันผลลัพธ์การศึกษา และลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
    6. สัมภาษณ์บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาตามที่สถาบันการศึกษาเป็นผู้นัดหมาย ตามจำนวนและหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะผู้ตรวจประเมินฯ เพื่อยืนยันลักษณะบัณฑิตของหลักสูตรในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
    7. สัมภาษณ์ศิษย์เก่าของหลักสูตรที่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมในภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานอื่นตามที่สถาบันการศึกษาเป็นผู้นัดหมายตามจำนวนและเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อยืนยันลักษณะของบัณฑิตในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและความมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจากภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพ
  3. ประชุมปิดท้ายกิจกรรมการตรวจเยี่ยมสถาบันการศึกษา (Exit Meeting)
    ในการสรุปปิดท้ายกิจกรรมการตรวจเยี่ยมสถาบันการศึกษา คณะผู้ตรวจประเมินฯ ประชุมร่วมกับผู้บริหารสถาบันการศึกษา และผู้บริหารหลักสูตร เพื่อแจ้งประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
    1. อธิบายกระบวนงานโดยย่อที่คณะผู้ตรวจประเมินฯ มีแนวทางดำเนินการต่อไปเพื่อรายงานผลการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์
      • แจ้งข้อเท็จจริงที่พบในการตรวจเยี่ยมสถาบันการศึกษา โดยไม่จำเป็นต้องอธิบาย หรือให้ข้อแนะนำในรายละเอียด
  4. รายงานผลการตรวจรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์
    คณะผู้ตรวจประเมินฯ มีหน้าที่ในการพิจารณาและรายงานผลการตรวจรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ดังนี้
    1. คณะผู้ตรวจประเมินฯ ประชุมร่วมกันและสรุปเขียนรายงานข้อเท็จจริงที่พบระหว่างการตรวจประเมินฯ และส่งให้สถาบันการศึกษาพิจารณายอมรับ
    2. คณะผู้ตรวจประเมินฯ ประชุมร่วมกันและสรุปผลการตรวจประเมินฯ ตามแบบรายการตรวจประเมินฯ และเขียนรายงานผลการตรวจรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ตามแบบรายงานผลการตรวจรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ที่กำหนด
    3. หัวหน้าคณะผู้ตรวจประเมินฯ (อาจมีผู้ตรวจประเมินฯ ร่วมด้วย) ประชุมร่วมกับคณะทำงานกลั่นกรองรายงานผลการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อตรวจทานและแก้ไขข้อเสนอแนะ และรายงานผลการตรวจรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ทับซ้อนและการอุทธรณ์ผลการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์
    4. หัวหน้าคณะผู้ตรวจประเมินฯ (อาจมีผู้ตรวจประเมินฯ ร่วมด้วย) นำเสนอรายงานผลการตรวจรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ และข้อเสนอแนะ ในการประชุมพิจารณาผลการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ (Decision Meeting)

คุณสมบัติของผู้ตรวจประเมินฯ

ผู้ตรวจประเมินฯ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากสภาวิศวกรพึงมีคุณสมบัติดังนี้

  1. สำเร็จการศึกษาไม่น้อยกว่าระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่ขอรับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ และ
  2. เป็นผู้ที่ได้รับการอบรมและผ่านการทดสอบเป็นผู้ตรวจประเมินฯ ของคณะอนุกรรมการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ สภาวิศวกร และ
  3. เป็นผู้มีทัศนคติที่ดีต่อการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์และการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ตามเกณฑ์ผลลัพธ์ของการศึกษา และ
  4. ในกรณีที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาพึงมีประสบการณ์สอนและวิจัยในสถาบันการศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผลลัพธ์ของการศึกษา หรือ
  5. ในกรณีที่เป็นผู้ปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรม พึงมีประสบการณ์หรือมีส่วนร่วมในการปฏิบัติวิชาชีพในสาขาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ที่ขอรับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา หรือ  
  6. เป็นวิศวกรสมาชิกของสมาคมวิชาชีพวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิศวกรรมที่ขอรับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา

หัวหน้าคณะผู้ตรวจประเมินฯ

หัวหน้าคณะผู้ตรวจประเมินฯ ได้รับการแต่งตั้งจากสภาวิศวกรเพื่อทำหน้าที่ ดังนี้
ประสานงานกับเจ้าหน้าที่สภาวิศวกรเพื่อจัดประชุมคณะผู้ตรวจประเมินฯ เพื่อทำหน้าที่ตามที่กำหนดในหัวข้อ 4.4.1 หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะผู้ตรวจประเมินฯ

  1. ให้คำแนะนำคณะผู้ตรวจประเมินฯ และประสานงานกับเจ้าหน้าที่สภาวิศวกรเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ที่กำหนดไว้ในเอกสารนี้
  2. ประชุมคณะผู้ตรวจประเมินฯ เพื่อสรุปผลการตรวจประเมินฯ ตามแบบรายการตรวจประเมินฯ และเขียนรายงานผลการตรวจรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ตามแบบรายงานผลการตรวจรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ที่กำหนด
  3. ประชุมร่วมกับคณะทำงานกลั่นกรองรายงานผลการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อตรวจทานและแก้ไขข้อเสนอแนะและรายงานผลการตรวจรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ทับซ้อน และการอุทธรณ์ผลการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์
  4. นำเสนอรายงานผลการตรวจรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ และข้อเสนอแนะในการประชุมพิจารณาผลการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ (Decision Meeting)

หัวหน้าคณะผู้ตรวจประเมินฯ ควรเป็นผู้มีประสบการณ์วิชาชีพวิศวกรรม หรือมีระสบการณ์เป็นผู้บริหารหลักสูตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ หรือเคยทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจประเมินฯ ของสภาวิศวกร หรือได้รับการอบรมจากสภาวิศวกรสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ ขั้นตอนและวิธีการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ได้

ชื่อสกุลสาขาหน่วยงาน
กมลพงศ์ธาดาพรวิศวกรรมไฟฟ้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
กฤษฎาพนมเชิงวิศวกรรมเครื่องกลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กฤษดาอัศวรุ่งแสงกุลวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
กษมาจารุกำจรวิศวกรรมพอลิเมอร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
กอบบุญหล่อทองคำวิศวกรรมเหมืองแร่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กิตติชัยชินคีรีวิศวกรรมเคมีบริษัท ปตท.สผ. จำกัด (มหาชน)
กิตติชัยอธิกุลรัตน์วิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
กิตติศักดิ์ขันติยวิชัยวิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
กีรติชยะกุลคีรีวิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
กุณฑินีมณีรัตน์วิศวกรรมเครื่องกลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เก็จวลีพฤกษาทรเคมีเทคนิคจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกรียงไกรภูวณิชย์วิศวกรรมคอมพิวเตอร์วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
คณิทธิ์วิทยพิบูลย์วิศวกรรมโยธาสมาคมการสำรวจและการแผนที่แห่งประเทศไทย
คัชสิทธิ์พรหมณีย์วิศวกรรมเครื่องกลการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
จงกลศรีธรวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
จักรกฤษณ์ศุทธากรณ์วิศวกรรมชีวการแพทย์มหาวิทยาลัยมหิดล
จักรพงษ์พงษ์เพ็งวิศวกรรมโยธาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
จารุวัตรเจริญสุขวิศวกรรมเครื่องกลสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
จิตกรกนกนัยการวิศวกรรมเครื่องกลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
จิรวัฒน์ชีวรุ่งโรจน์วิศวกรรมปิโตรเลียมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จิระชัยศรีสมบัติวิศวกรรมเครื่องกลโรงไฟฟ้าแม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
จิระศักดิ์ชาญวุฒิธรรมวิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
จุลพจน์จิรวัชรเดชวิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เจษฎาจันทวงษ์โสวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ฉัตรชัยโชติษฐยางกูรวิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
เฉลิมราชวันทวินวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ชยธัชเผือกสามัญวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ชลมิตรทิพย์สิงห์วิศวกรรมเครื่องกลการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ชวนะอยู่ภักดีวิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ชวลิตชานะมัยวิศวกรรมโยธาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ชัชวาลเฉลิมวัฒนชัยวิศวกรรมไฟฟ้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ชัยชาญอึ๊งศรีวงศ์วิศวกรรมเครื่องกลสมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย
ชัยวัฒน์ประไพนัยนาวิศวกรรมเคมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ชัยวุฒิฉัตรอุทัยวิศวกรรมคอมพิวเตอร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ชาญชัยเตชะวัชราภัยกุลวิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ชาติชายผึ้งทองดีวิศวกรรมไฟฟ้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ชินพัฒน์บัวชาติวิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชูเวชชาญสง่าเวชวิศวกรรมอุตสาหการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
ชูศักดิ์โกกะนุทรานนท์วิศวกรรมเคมีบริษัท ปตท สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด
เชษฐาชุมกระโทกวิศวกรรมปิโตรเลียมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
เชิดชัยประภานวรัตน์วิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
โชติรัตน์รัตนามหัทธนะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณฐาคุปตัษเฐียรวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ณัฐสุขสงวนวิศวกรรมเหมืองแร่หจก. บานชื่นไมนิ่ง
ณัฐชาเดชดำรงวิศวกรรมคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ณัฐพงศ์มกระธัชวิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ณัฐพงศ์หัชชะวณิชวิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ณัฐวัฒน์พิณรัตน์วิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ณัฐวุฒิธนศรีสถิตย์วิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ณัฐวุฒิชยาวนิชวิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ดนุพงษ์สรรพอุดมวิศวกรรมเครื่องกลการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ดวงฤดี โฆษิตกิตติวงศ์ก้องกิจกุลวิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ดีบุญเมธากุลชาติวิศวกรรมสำรวจสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ
เดโชเผือกภูมิวิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ตติยาตรงสถิตกุลวิศวกรรมพอลิเมอร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ตระกูลอร่ามรักษ์วิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ตรีทศเหล่าศิริหงส์ทองวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทรงเกียรติภัทรปัทมาวงศ์วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ทรงพลเสนาะล้ำวิศวกรรมอุตสาหการSCG Living & Housing Solution Co., LTD
ทวิชพูลเงินวิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ทศนพกำเนิดทองวิศวกรรมเครื่องกลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ทักษิณเทพชาตรีวิศวกรรมโยธาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทิพย์วรรณฟังสุวรรณรักษ์วิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
เทวรัตน์ตรีอำนรรควิศวกรรมเครื่องกลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
เทวินทร์รุ่งดำรงค์วิศวกรรมอุตสาหการบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
เทิดศักดิ์จิตทัยวิศวกรรมเครื่องมือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ธงชัยโพธิ์ทองวิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ธนวัชศรีเจริญชัยวิศวกรรมเครื่องกลการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ธนัดชัยกุลวรวานิชพงษ์วิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ธเนศเจริญทรัพย์วิศวกรรมเครื่องกลPTT Chemical Public Company Limited
ธรรมฉัตรกงวิรัตน์วิศวกรรมไฟฟ้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ธเรศศรีสถิตย์วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม-
ธิราพรจุลยุเสนวิศวกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ธีรวัฒน์สินศิริวิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ธีระสุตสุขกำเนิดวิศวกรรมเคมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
นพรัตน์นรินทร์วิศวกรรมโยธาบริษัท โปรเจคแพลนนิ่งเซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
นราสมัตถภาพงศ์วิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
นฤชาตนัยอัชฌาวุฒวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
นัทธ์ดนัยจันลาวงศ์วิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
นิธินาถศุภกาญจน์วิศวกรรมวัสดุมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
นิธิรุจนพงศสิริเมธีวิศวกรรมการผลิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
นิรัตน์เทศกะทึกวิศวกรรมเครื่องกลการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
บพิธฉุยฉายวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง
บัญชาสุขสุทธิ์วิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง
บัณฑิตทิพากรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บุญชัยเรียงวิไลกุลวิศวกรรมเครื่องกลบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) SCG
ปณิธานพีรพัฒนาวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปภากรพิทยชวาลวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ประจวบกล่อมจิตรวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยศิลปากร
ประทวลจูงามวิศวกรรมไฟฟ้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ประยุทธอัครเอกฒาลินวิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ประสงค์ปราณีตพลกรังวิศวกรรมคอมพิวเตอร์โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
ปรัชญาเทพณรงค์วิศวกรรมเหมืองแร่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ปริยะจิตต์การุญวิศวกรรมโยธากรมทางหลวงชนบท
ปวีร์ศิริรักษ์วิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ปัญญาบัวฮมบุราวิศวกรรมโลหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ปานจันทร์ศรีจรูญวิศวกรรมเคมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ปารเมศชุติมาวิศวกรรมอุตสาหการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปิยนิตย์เวปุลานนท์วิศวกรรมคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ปิยะนาถสมมณีวิศวกรรมไฟฟ้าสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ปิยะบุตรวานิชพงษ์พันธุ์วิศวกรรมเคมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เผด็จเผ่าลออวิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
พงษ์ศักดิ์นิ่มดำวิศวกรรมเครื่องกลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
พงษ์อำพันธ์ไชโยวิศวกรรมไฟฟ้าEco Plant Services Co., Ltd
พจน์ตั้งงามจิตต์วิศวกรรมอัตโนมัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
พยุงศักดิ์จุลยุเสนวิศวกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
พรพจน์เปี่ยมสมบูรณ์วิศวกรรมเคมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พรวสาวงศ์ปัญญาวิศวกรรมโลหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
พรศิริจงกลวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
พลสัณห์พงษ์ประยูรวิศวกรรมไฟฟ้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
พัชรีชูชาติวิศวกรรมอุตสาหการวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
พัชรีหอวิจิตรวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม-
พานิชวุฒิพฤกษ์วิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
พิชิตสุขเจริญพงศ์วิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พิชิตลำยองวิศวกรรมไฟฟ้าสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
พิพัฒน์ตันสกุลวิศวกรรมเครื่องกลการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
พิลาสินีลิ้มสุวรรณวิศวกรรมเคมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
พิศิษฐ์แสง-ชูโตวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยรามคำแหง
พิสิฐพุฒิไพโรจน์วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม/ วิศวกรรมโยธาบริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด (COT)
พิสุทธิ์อภิชยกุลวิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยนเรศวร
เพชรเจียรนัยศิลาวงศ์วิศวกรรมเครื่องกลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ไพฑูรย์ศิริโอฬารวิศวกรรมอุตสาหการ
(โลจิสติกส์)
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัตน์
ภัคชนม์หุ่นสุวรรณ์วิศวกรรมการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์บริษัท ปตท.สผ. จำกัด (มหาชน)
ภัทรศยาตันติวัฒนกูลวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ภาคภูมิรักร่วมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาวนีนรัตถรักษาวิศวกรรมเคมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ภิญโญพวงมะลิวิศวกรรมเครื่องกลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มนต์ชัยพระรสวิศวกรรมเคมีบริษัท พีทีที เอนเนอร์ยี่ โซลูชั่นส์ (PTTES)
มรกตพงษ์บริบูรณ์วิศวกรรมเคมีบริษัท พีทีที เอนเนอร์ยี่ โซลูชั่นส์ (PTTES)
มานิตย์กู้ธนพัฒน์วิศวกรรมเครื่องกล-
มาโนชสรรพกิจทิพากรวิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ยุทธชัยบรรเทิงจิตรวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
เยี่ยมจันทรประสิทธิ์วิศวกรรมเคมี/ วิศวกรรมอุตสาหการสภาวิศวกร
รชนีกรพลปถพีวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
รณภพสุนทรโรหิตวิศวกรรมอุตสาหการบริษัท โรเดียม คอนซัลแทนท์ จำกัด
รวิภัทรลาภเจริญสุขวิศวกรรมเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
รักติพงษ์สหมิตรมงคลวิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รังสินีแคนยุกต์วิศวกรรมวัสดุมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
รุ่งโรจน์เกาะคูวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ละอองดาวเตชะวิญญูธรรมวิศวกรรมการผลิตมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
วชรภูมิเบญจโอฬารวิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
วนรารัชต์พรนวลสวรรค์วิศวกรรมโยธาวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
วรฉัตรสุวศินวิศวกรรมโยธาบมจ.ซิโนไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น
วรณีมังคละศิริวิศวกรรมเคมีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วรพจน์มีถมวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
วรพจน์กมุทวณิชวิศวกรรมเครื่องกลการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
วรพัฒน์นภาพรวิศวกรรมอุตสาหการ-
วรรณวนัชบุ่งสุดวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
วรรณวิไลไกลเพ็ชร เอวานส์วิศวกรรมเคมีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
วรรัตน์พิมพ์วิไชยวิศวกรรมไฟฟ้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
วรวัฒน์ลวนนท์วิศวกรรมควบคุมระบบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
วรากรนันทยาวิศวกรรมเครื่องกลPTTES (บริษัท พีทีที เอนเนอร์ยี่ โซลูชั่นส์)
วศินไวยสุศรีวิศวกรรมโยธาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
วัชรพันธ์สุวรรณสันติสุขวิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
วัชรินศรีรัตนาวิชัยกุลวิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วัลลภภูผาวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
วิจารณ์ตันติธรรมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมกรมโยธาธิการและผังเมือง
วิชชุศรีทองวิศวกรรมควบคุมระบบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
วิชิตแสงสุคนธ์วิศวกรรมเคมีPTTES (บริษัท พีทีที เอนเนอร์ยี่ โซลูชั่นส์)
วิทิต​ปาน​สุข​วิศวกรรมโยธาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิบูลย์เลิศวิมลนันท์วิศวกรรมเครื่องกลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
วิมลลักษณ์สุตะพันธ์วิศวกรรมวัสดุมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
วิษณุพิพัฒนกุลชัยวิศวกรรมไฟฟ้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
วิสุทธิ์สุพิทักษ์วิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วีรเดชชีวาพัฒนานุวงศ์วิศวกรรมโยธากรมทางหลวงชนบท
วีระวัฒน์เพิ่มสันติธรรมวิศวกรรมเคมี-
ศรันย์อัมพุชวิศวกรรมเคมีบริษัท ปตท.สผ. จำกัด (มหาชน)
ศราวุธสอนอุไรวิศวกรรมไฟฟ้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ศักดากตเวทวารักษ์วิศวกรรมโยธาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ศันสนีย์สุภาภาวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศิริรัตน์ ทับสูงเนินรัตนจันทร์วิศวกรรมวัสดุมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ศิโรจน์สัตยไพศาลวิศวกรรมเครื่องกลบริษัท ปตท.สผ. จำกัด (มหาชน)
ศุภฤกษ์จันทร์ศุภเสนวิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สนั่นสระแก้ววิศวกรรมคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สมเกียรติขวัญพฤกษ์วิศวกรรมโยธาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สมนึกจารุดิลกกลวิศวกรรมเคมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สมพรเพียรสุขมณีวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สมศักดิ์ไชยภินันท์วิศวกรรมเครื่องกลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สมศักดิ์วงษ์ประดับไชยวิศวกรรมเครื่องกลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สมหวังวิทยาปัญญานนท์วิศวกรรมอุตสาหการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
สมิตรส่งพิริยะกิจวิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สรรรัตนสัญญาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สรัณกรเหมะวิบูลย์วิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยนเรศวร
สฤทธิ์เดชพัฒนเศรษฐพงษ์วิศวกรรมเหมืองแร่-
สาทิสส์ทรงชนวิศวกรรมเครื่องกลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สิทธิชัยแสงอาทิตย์วิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
สิทธิชัยเทียนทองวิศวกรรมโยธาบมจ.ปูนซิเมนต์ไทย
สุขอังคณาแถลงกัณฑ์วิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยขอนแก่น
สุคนธ์ทิพย์เพิ่มศิลป์วิศวกรรมอุตสาหการสถาบันการจัดการปัญญาภิวัตน์
สุจิคอประเสริฐศักดิ์วิศวกรรมไฟฟ้าบริษัท ธนชา จำกัด
สุจินต์ธงถาวรสุวรรณวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สุชินสายะสนธิวิศวกรรมเครื่องกลการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
สุดชายบุญโตวิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สุดารัตน์ขวัญอ่อนวิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
สุดาวรรณลี้ไพฑูรย์วิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง
สุเทพงามเลิศลี้วิศวกรรมไฟฟ้าบริษัท ปตท.สผ. จำกัด (มหาชน)
สุนิติสุภาพวิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
สุพจน์ด้วงแห้ววิศวกรรมเครื่องกลการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
สุพรเตชัยยาวิศวกรรมโยธากรมทางหลวงชนบท
สุพัฒน์เอี่ยมสุภาพงษ์วิศวกรรมเครื่องกลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สุภาพงษ์นุตวงษ์วิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สุมล แซ่เฮงพิสิษฐ์สังฆการวิศวกรรมขนส่งวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สุเมธเนติลัดดานนท์วิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สุรพลศรีเสาวชาติวิศวกรรมโยธากรมทางหลวงชนบท
สุรัตน์ตรัยวนพงศ์วิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
สุรัตน์อารีรัตน์วิศวกรรมเคมีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สุรินทร์กิตติธรกุลวิศวกรรมไฟฟ้า/วิศวกรรมคอมพิวเตอร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สุรินทร์เสริมสุขรุ่งสกุลวิศวกรรมไฟฟ้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
สุรีย์พุ่มรินทร์วิศวกรรมไฟฟ้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุวารีชาญกิจมั่นคงวิศวกรรมอุตสาหการสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สุวิทย์คำสว่างวิศวกรรมไฟฟ้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
เสวกชัยตั้งอร่ามวงศ์วิศวกรรมโยธาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หทัยกาญจน์จิฤดีวิศวกรรมโยธากรมโยธาธิการและผังเมือง
อดิศักดิ์หวังพงษ์สวัสดิ์วิศวกรรมอุตสาหการFord Motor Company (Retired)
อธิปดุลย์จินดาชบาพรวิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
อนวัชสังข์เพ็ชรวิศวกรรมเคมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
อนันต์สุนทรศิริวิศวกรรมโยธาสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย
อนันต์เครือทรัพย์ถาวรวิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยขอนแก่น
อนันท์อุ่นศิวิไลย์วิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
อนินท์มีมนต์วิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
อภินันท์สุทธิธารธวัชวิศวกรรมเคมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อมรรัตน์ชุมภูวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
อรรถพลสมุทคุปติ์วิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อลงกรณ์พิมพ์พิณวิศวกรรมเครื่องกลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อัคคพลเสนาณรงค์วิศวกรรมเครื่องกลสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม
อัฆพรรค์วรรณโกมลวิศวกรรมปิโตรเลียมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
อัญชลีพร วาริทสวัสดิ์หล่อทองคำวิศวกรรมเคมีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
อัฏฐพลอริยฤทธิ์วิศวกรรมเครื่องกลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
อัฐพงษ์สมฤทธิ์วิศวกรรมเครื่องกลบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) SCG
อาณัติดีพัฒนาวิศวกรรมเคมีมหาวิทยาลัยบูรพา
อารักข์หาญสันเทียะวิศวกรรมอุตสาหการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
อุทัยฤทธิ์โรจนวิภาตวิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
เอกชัยมุจจลินท์วิมุติวิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เอกวุธมณีรัตน์วิศวกรรมเครื่องกลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พิเนษฐ์ศรีโยธาวิศวกรรมอุตสาหการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
นิรัตน์แย้มโอษฐ์วิศวกรรมโยธาวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
พีรพลเวทีกูลวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย