หน้าหลัก
Law, Rule, Regulation
Regulations of the Council of Engineers On Requirements and Qualifications of Regulated Engineering Profession Practitioners of Each Level in the Field of Civil Engineering, B.E. 2551 (A.D. 2008)
แนะนำสำหรับคุณ
สภาวิศวกรชี้การปิดจบปัญหาขยะในไทยต้องเริ่มบูรณาการ “มายด์เซ็ต” พร้อมโชว์โมเดลการแก้ปัญหาขยะด้วยเทคโนโลยีเชิงวิศวกรรมหนึ่งทางออกสำคัญแก้วิกฤตขยะล้นประเทศ!!
สภาวิศวกรรับเทรนด์ “ปลอดคาร์บอน” เปิดต้นแบบการสร้างอาคารเป็นมิตรสิ่งแวดล้อมทุกมิติ ผู้เชี่ยวชาญเผยปัญหาการจัดการขยะในไทยยังเรื้อรัง ระบบยังขาดมาตรฐาน เน้นย้ำการแยกขยะที่ดีตั้งแต่ต้นทางช่วยให้ขยะสามารถเทิร์นกลับมาสร้างประโยชน์ได้อีกครั้ง ชูแนวคิดกระบวนการทางวิศวกรรมช่วยจัดการขยะรีไซเคิลขยะวนกลับมาใช้ใหม่ ช่วยลดการใช้วัตถุดิบต้นทาง ลดปริมาณขยะปลายทาง ลดภาระการกำจัด ลดมลพิษที่เกิดขึ้นจากกระบวนการกำจัดขยะ ย้ำกฎหมายไทยยังไม่มีการเจาะจงคัดแยกขยะมีเพียงแนวทาง และการขอความร่วมมือกับชุมชนเท่านั้น ทำให้ประชาชนขาดความตระหนักรู้ รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม สภาวิศวกร กล่าวว่าปัญหาขยะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการจัดการขยะในประเทศไทย เป็นปัญหาที่สะสมมาอย่างยาวนาน ระบบการคัดแยกขยะชุมชนยังไม่มีระบบที่เป็นมาตรฐานแน่นอน ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติงานของแต่ละพื้นที่ ดังนั้น เพื่อการจัดการขยะให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ประเทศไทยจึงควรมีการร่วมมือกันระหว่างหลายหน่วยงานเพื่อจัดการขยะให้เป็นสัดส่วน เนื่องจากเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการปรับปรุงแก้ไข ภาครัฐควรมีการอัปเดทข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณและสถานการณ์ของขยะในปัจจุบัน และนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้เพื่อให้เหมาะสมกับการจัดการในปัจจุบัน ในส่วนของภาคประชาชนควรให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด ปรับพฤติกรรมการทิ้ง การใช้ผลิตภัณฑ์ และตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และในส่วนของสถาบันการศึกษาควรจะมีหน้าที่ป้อนความรู้และเทคโนโลยีที่สมัยใหม่และมีประสิทธิภาพในการจัดการขยะเพื่อสร้างและพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้มีความรู้ความสามารถร่วมกันจัดการปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป รูปแบบการจัดการขยะชุมชนส่วนมากจะเริ่มกระบวนการตั้งแต่ ขยะออกจากแหล่งกำเนิดหรือจุดรวบรวมขยะหลังการบริโภคผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ บ้าน ตลาด ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ที่พักต่าง ๆ จะถูกรวบรวมขนส่งไปยังสถานีขนถ่ายและสถานที่กำจัดหรือหลุมฝังกลบปลายทาง โดยการคัดแยกขยะจะเกิดขึ้นระหว่างทาง ตั้งแต่ต้นทางแหล่งกำเนิดขยะ บนรถเก็บขน โรงงานรีไซเคิลและกำจัด จนถึงสถานที่ฝังกลบ โดยส่วนใหญ่ การคัดแยกขยะชุมชนมีการแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ […]

PR COE
3 Feb 2023ติ่งตัวแม่ต้องแคร์บ้าง!! สภาวิศวกรออกเตือนชาวติ่ง กับประเด็นความเซฟตี้ที่ต้องแคร์ปี 2023 มันส์ระเบิดแค่ไหน ความปลอดภัยต้องเป็นที่หนึ่ง
หลังจากสถานการณ์โควิด-19 ผ่อนคลาย ประเทศไทยได้เปิดบ้านต้อนรับคนต่างชาติให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวได้ง่ายขึ้น และในช่วงที่ผ่านมาเราจะพบเห็นศิลปินต่างชาติ โดยเฉพาะศิลปินเกาหลีที่ต่างตบเท้าเข้าประเทศไทยเพื่อจัดกิจกรรมมีทแอนด์กรี๊ดกันแบบถี่ยิบ ไม่ว่าจะเป็นงานคอนเสิร์ต งานแฟนมีต จนมีคำเรียกว่า “ไทยแลนด์ก็แค่ปากซอยของเหล่าศิลปินเกาหลี” โดยเฉพาะในปี 2023 นี้ ที่ว่ากันว่าชาวติ่ง จะได้เฮกันอย่างต่อเนื่อง กับคิวศิลปินคนโปรดที่ทยอยเดินทางมาหากันอย่างคึกคักทุกเดือน เพื่อคลายความคิดถึงหลังจากงดกิจกรรมบันเทิงในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่กินเวลานานกว่า 3 ปี สภาวิศวกร ในฐานะองค์กรที่เต็มไปด้วยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ อีกทั้งงานของวิศวกรยังเกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน สังคม รวมถึงกิจกรรมของ “ชาวติ่ง” จึงมีข้อแนะนำให้แฟน ๆ ของศิลปินทุกวงได้รับความสนุกควบคู่ไปกับปลอดภัย โดยมีไฮไลต์ที่น่าสนใจดังนี้ สุวรรณภูมิ สถานที่เช็คเรทติ้งด่านแรกของศิลปิน ติ่งที่ดีต้องต้อนรับศิลปินคนโปรดที่มาเยือนบ้านเราอย่างอบอุ่นตั้งแต่ก้าวแรกที่เหยียบผืนแผ่นดินไทย และเป็นอีกหนึ่งการวัดเรทติ้งของศิลปินว่ามีฐานแฟนคลับ ความนิยมมากน้อยแค่ไหน แฟนคลับต่างจับจองพื้นที่เพื่อให้ได้ใกล้ชิด และมองเห็นศิลปินคนโปรดได้ชัดเจนที่สุด ตั้งแต่ทางเดินออกจากเกทไปจนจุดขึ้นรถออกจากสนามบิน จุดที่อันตรายและน่าเป็นห่วงที่สุด คือ ราวกันตกกระจก จากชั้น 2 ชั้น 3 ที่เหล่าแฟนคลับต่างพิง ผลัก ดัน เพื่อให้ได้มองเห็นศิลปินคนโปรดมากที่สุด รศ. เอนก ศิริพานิชกร ประธานคณะทำงานประสานงานด้านภัยพิบัติจากอาคารถล่ม สภาวิศวกร เปิดเผยว่า โดยปกติแล้วราวกันตกกระจกในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น […]

PR COE
2 Feb 2023สวทช ขอเชิญเข้าร่วมฝึกอบรม “หลักสูตรการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าโดยใช้ระบบขนส่งทางราง ”
สวทช ขอเชิญเข้าร่วมฝึกอบรม “หลักสูตรการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าโดยใช้ระบบขนส่งทางราง (Railway Logistics Management : RUM)” วันที่ 8 – 13 พฤษภาคม 2566 บรรยายภาคทฤษฎี : ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพ จำนวน 1 วัน ศึกษาดูงาน : ณ จังหวัดหนองคาย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) จำนวน 5 วัน เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าโดยใช้ระบบขนส่งทางรางตลอดกระบวนการ ทั้งการนำเข้าและส่งออกสินค้า ผ่านการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและการศึกษาดูงานเชิงประจักษ์ด้านการขนส่งสินค้าทางระบบรางทั้งในและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านการขนส่ง (Logistics) ของประเทศ และสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการพัฒนาระบบขนส่งทางรางได้อย่างมีประสิทธิภาพ รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine
