หน้าหลัก ข้อแนะนำบริการ

ข้อแนะนำบริการ : บุคคล

กรณี ข้ามสาขาวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตข้ามสาขาวิศวกรรมควบคุม

  1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร เทียบเท่าปริญญาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ที่สภาวิศวกรรับรอง หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ (TABEE) ในสาขาที่ตรงกับสาขาวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมที่ขอรับใบอนุญาตระดับสามัญวิศวกร
  2. มีหลักฐานการได้รับหน่วยความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง ตามจำนวนที่คณะกรรมการสภาวิศวกรกำหนด
  3. มีบัญชีแสดงผลงานและปริมาณงานในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม หลังจากได้รับใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกรไม่น้อยกว่า 3 ปี และได้รับการเสริมสร้างประสบการณ์ในการประกอบวิชาชีพ ตามกรอบความสามารถการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ภายใต้การกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพร่วมกับผู้ได้รับใบอนุญาตตั้งแต่ระดับสามัญวิศวกรขึ้นไปในสาขาและงาน (แขนง) เดียวกันกับที่ยื่นคำขอนั้นเป็นผู้ลงนามรับรองผลงาน
  4. มีรายงานผลงานวิศวกรรมดีเด่นจำนวนไม่น้อยกว่า 2 เรื่องแต่ไม่เกิน 5 เรื่อง

วิธีการยื่นคำขอ

  1. สามารถยื่นผ่านอีเมล professional@coe.or.th และรอผลการพิจารณาผลงาน เมื่อผลงานผ่านเข้าสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ต่อไป โดยเอกสารประกอบด้วย
    1.1.รูปถ่าย
           – รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นดํา ถ่ายไว้ไม่เกิน 1 ปี ขนาด 181×230 pixels ไม่เกิน 4MB
    (ไฟล์ .jpg)
    1.2.ลายเซ็น
           – ลายเซ็นของผู้สมัคร ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ขนาด 1181×185 pixels ไม่เกิน 4MB
    (ไฟล์ .png หรือ .jpg)
    1.3.สำเนาหลักฐานการศึกษา (transcript) ระดับปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร เทียบเท่าปริญญาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ที่สภาวิศวกรรับรอง หรือหลักสูตรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ (TABEE) ในสาขาที่ตรงกับสาขาวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมที่ขอรับใบอนุญาตระดับสามัญวิศวกร
    1.4.ประวัติการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมในสาขาที่ยื่นคำขอ
           – กรุณากรอกแบบประวัติประกอบวิชาชีพ ตามแบบฟอร์มที่สภาวิศวกรกำหนด (ไฟล์ .pdf)
    (ไฟล์ .pdf ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
    (ไฟล์ .word ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
    1.5.บัญชีแสดงผลงานและปริมาณงานในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ควบคุมที่เด่นชัดเพื่อขอเลื่อนระดับ
           – แบบบัญชีแสดงผลงานและปริมาณงานในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหลังจากได้รับใบอนุญาตระดับภาคีวิศวกร ไม่น้อยกว่า 3 ปี ภายใต้การกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพร่วมกับผู้ได้รับใบอนุญาตตั้งแต่ระดับสามัญวิศวกรขึ้นไปในสาขาและงาน (แขนง) เดียวกันกับที่ยื่นคำขอเป็นผู้ลงนามรับรองผลงาน
    (ไฟล์ .pdf ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
    (ไฟล์ .word ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
    1.6.แบบรายการกิจกรรมการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง (CPD Activities) (ถ้ามี)
           – ยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานการได้รับหน่วยความรู้ในวันยื่นคำขอรับใบอนุญาต (รายละเอียดศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็ปไซต์สภาวิศวกร)
           – ทั้งนี้หน่วยความรู้ที่นำมาใช้ ต้องมีอายุไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับหน่วยความรู้นั้น (ไฟล์ .pdf)
    (ไฟล์ .pdf ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
    (ไฟล์ .word ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
    1.7.แบบรายการคำแถลงความสามารถการประกอบวิชาชีพ
           – กรุณากรอกข้อมูลคำแถลงความสามารถการประกอบวิชาชีพตามแบบฟอร์มที่สภาวิศวกรกำหนด
    (ไฟล์ .pdf)
    (ไฟล์ .pdf ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
    (ไฟล์ .word ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม)
    1.8.รายงานผลงานวิศวกรรมดีเด่น
           – โดยคัดเลือกจากบัญชีแสดงผลงานและปริมาณงาน จำนวนอย่างน้อย 2 ผลงาน แต่ไม่เกิน 5 โครงการและให้ระบุว่าเป็นผลงานลำดับที่เท่าไหร่ในบัญชี แสดงผลงานและปริมาณงาน (ไฟล์ .pdf)
    (ไฟล์ .pdf ดาวน์โหลดคำแนะนำการจัดทำรายงานผลงานวิศวกรรมดีเด่น)
    1.9.หนังสือรับรอง กรณีใช้ผลงานดีเด่นต่างประเทศ (ถ้ามี)
           – หนังสือรับรองการทำงานจากนิติบุคคลที่ท่านสังกัดในต่างประเทศ (ไฟล์ .pdf)
  2. รอการพิจารณาเอกสาร และผลงานจากคณะอนุกรรมการจึงสามารถเข้าสอบข้อเขียนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการสภาวิศวกรกำหนด ได้
     – เมื่อผลงานผ่าน จึงมีสิทธิ์เข้าสอบข้อเขียนได้
     – เมื่อผลงานไม่ผ่าน ท่านจะได้รับข้อความปฏิเสธ และสามารถยื่นทำรายการได้ใหม่ในภายหลัง
  3. ชำระเงินค่าสมัครสอบข้อเขียน ครั้งละ 1,500 บาท
  4. จองรอบสอบข้อเขียน และเข้าสอบข้อเขียน
     – คะแนน 60/100 ขึ้นไป มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์
  5. ชำระเงินค่าสมัครสอบสัมภาษณ์ ครั้งละ 1,500 บาท
  6. จองรอบสอบสัมภาษณ์ และเข้าสอบสัมภาษณ์
    สอบสัมภาษณ์ ผ่านตามกรอบความสามารถมีสิทธิ์ได้รับใบอนุญาต
  7. รออนุมัติใบอนุญาต รอคณะกรรมการสภาวิศวกรพิจารณาอนุมัติใบอนุญาต
  8. ชำระเงินค่าใบอนุญาต จำนวน 3,500 บาท พร้อมส่วนต่างอายุสมาชิก
  9. รอรับใบอนุญาต

หมายเหตุ

  1. ค่าธรรมเนียมการสอบสัมภาษณ์และสอบข้อเขียน รอบละ 1,500 บาท (ไม่รวมค่าธรรมเนียมจากผู้ให้บริการ)
  2. ค่าธรรมเนียมการออกแบบใบอนุญาตระดับสามัญวิศวกร 3,500 บาท และค่าส่วนต่างสมาชิกเพื่อให้หมดอายุในวันเดียวกัน
  3. ระยะเวลาการพิจารณาผลงาน ใช้เวลาประมาณ 30 – 45 วันทำการ จึงจะสามารถสมัครสอบข้อเขียนได้